ผู้สูงอายุเบื่ออาหารทำอย่างไรดี

เมื่อผู้สูงอายุ อายุเยอะขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเกิดขึ้นทำให้สมรรถภาพในการทำสิ่งต่างๆ ถดถอยไปจากสมัยวัยหนุ่มสาว รวมถึงในเรื่องของการรับประทานอาหาร ทำให้ผู้สูงอายุได้รับอาหารลดลง และทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารลดลง นำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการได้ค่ะ

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่ทำให้ผู้สูงอายุทานอาหารได้ลดลง

  1. การรับรสชาติอาหารได้ลดลง จากการลดลดของตุ่มรับรสและความเสื่อมของเซลล์รับรส ส่งผลให้ความอยากอาหารลดลง และนอกจากนี้การรับรสที่ลดลงทำให้ผู้สูงอายุมักรับประทานที่มีรสชาติจัดขึ้น เช่น หวานขึ้น เค็มขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะสุขภาพในเรื่องของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้ไม่สามรถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ได้
  2. ลิ้นรับรสขมเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความอยากอาหารลดลง
  3. ภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย ส่งผลต่อความลำบากในการเคี้ยว การกลืนอาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้ลดลง
  4. ความไวต่อความรู้สึกในช่องปากเพิ่มขึ้น ทำให้รู้สึกเผ็ดร้อน แสบปากได้ง่าย
  5. การได้รับกลิ่นลดลง ส่งผลให้ความอยากรับประทานอาหารลดลง
  6. ความแข็งแรงของฟันลดลง และมีภาวะเหงือร่นทำให้ไม่สามารถเคี้ยวอาหารที่แข็งได้

วิธีกระตุ้นให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น

  1. ทำอาหารให้อ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย
  2. ทำอาหารให้ชิ้นเล็ก มีน้ำเป็นส่วนประกอบเพื่อให้ง่ายต่อการกลืน
  3. ทำอาหารให้หลากหลาย ไม่จำเจ
  4. สร้างบรรยากาศในการรับประทานอาหารให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น ให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารร่วมกับคนในครอบครัว เปิดเพลงที่ผู้สูงอายุชื่นชอบให้ฟังขณะรับประทานอาหาร
  5. ดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทนมผง สูตรครบถ้วนที่มีสารอาหาร 5 หมู่ เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างเพียงพอ

การดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนนั้นมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยส่งเสริมในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยไม่ให้ร่างกายติดเชื้อได้ง่าย และหากมีภาวะเจ็บป่วย มีแผล การที่ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้เร็วขึ้นอีกด้วยค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes : GDM)

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes : GDM)

ใครที่กำลังวางแผนในการมีบุตร หรือกำลังตั้งครรภ์ ทราบกันไหมคะว่า การไปฝากท้องนอกจากจะต้องประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์แล้วนั้น ก็ต้องมีการประเมินภาวะสุขภาพของมารดาด้วยเช่นกันค่ะ

หนึ่งในภาวะสุขภาพที่ต้องประเมิน ของมารดาขณะตั้งครรภ์ คือ การคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์(Gestational Diabetes : GDM) ซึ่งมักจะพบช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ หรือเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ค่ะ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์เกิดจากการที่ร่างกายของเรามีการสร้างรก ซึ่งรกสร้าง Human Placental Lactogen (HPL) ซึ่งกระตุ้นการสลายไขมันและโปรตีน ทำให้เกิดการสังเคราะห์ glucose เพิ่มขึ้น จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าในคนปกติ และยังมีฤทธิ์ต้านการทำงานของอินซูลิน(insuline resistance) ด้วยค่ะ ซึ่งโดยปกติแล้วภาวะนี้จะหายไปได้เองหลังจากมารดาคลอดทารกออกมาค่ะ

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดเนื่องจากทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าเกณฑ์ค่ะ

ซึ่งการประเมินภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะทำตั้งแต่การฝากครรภ์ครั้งแรก ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีข้อบ่งชี้ตามแบบการตรวจคัดกรองเบาหวานดื่มน้ำตาลกลูโคส 50 กรัมแล้วตรวจเลือดหลังดื่ม 1 ชั่วโมงโดยการแปลผลการตรวจ เป็นดังนี้ค่ะ

  • ระดับน้ำตาลในเลือด < 140 mg/dl นัดตรวจซ้ำเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์
  • ระดับน้ำตาลในเลือด 140-199 mg/dl นัดมาตรวจอีก 1 สัปดาห์เพื่อวินิจฉัยภาวะเบาหวาน
  • ระดับน้ำตาลในเลือด > = 200 mg/dl วินิจฉัยว่ามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การวินิจฉัยภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในหญิงตั้งครรภ์ที่เจาะน้ำตาลในเลือดได้ตั้งแต่ 140 mg/dl ด้วยวิธีที่เรียกว่า ‘Oral Glucose Tolerance Test : OGTT’ โดยวิธีการตรวจทำได้ดังนี้ค่ะ

  1. แจ้งหญิงตั้งครรภ์ให้งดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง(ไม่ควรเกิน 14 ชั่วโมง) ก่อนการมาเจาะเลือดตรวจที่ รพ.
  2. หลังจากนั้นให้หญิงตั้งครรภ์ ดื่มน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม แล้วทำการเจาะเลือดตรวจทุก 1 ชั่วโมง จำนวน 3 ครั้ง
  3. หลังจากเจาะเลือดครบแล้วจึงค่อยให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานอาหารได้ค่ะ
    ซึ่งระดับน้ำตาลปกติ ต้องไม่เกิน 95,180,155,140 mg/dl

หากค่าน้ำตาลในเลือดที่เจาะได้เกินค่าปกติจำนวนตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไป วินิจฉัยได้ว่า หญิงตั้งครรภ์นั้นมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ค่ะ

โดยการรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ต้องควบคุมการรับประทานอาหาร เช่น งดการทานอาหารจุกจิก ทานอาหารให้เป็นเวลา ครบ 5 หมู่ และนอกจากนี้ควรเพิ่มการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยสามารถออกกำลังกายในแบบที่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์

หากควบคุมอาหารแล้วยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้แพทย์อาจมีการพิจารณาให้ยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมาได้ค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

เลือก ถุงยางอนามัย ไซส์ไหนดี

ถุงยางอนามัย (Condom) มาจากภาษาละติน แปลว่า ภาชนะรองรับ

การใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วยค่ะ โดยถุงยางอนามัยมีทั้งแบบของผู้หญิง และถุงยางอนามัยของผู้ชาย แต่คนส่วนใหญ่เมื่อนึกถึงถุงยางอนามัยจะนึกถึงถุงยางอนามัยของผู้ชาย ก่อนค่ะ เพราะถุงยางอนามัยของผู้ชายเป็นที่นิยมเนื่องจากหาซื้อได้ง่ายและใช้งานได้สะดวกค่ะ
ถุงยางอนามัย ถูกผลิตขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1564 เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยวิวัฒนาการของถุงยางอนามัย แต่ก่อนมีการใช้ไส้แกะในการทำถุงยางอนามัย ในปัจจุบันถุงยางอนามัยถูกผลิตโดย โพลียูรีเทน เนื่องจากราคาถูก หาซื้อได้ง่าย ป้องกันเชื้อไวรัสได้และทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพ้ถุงยางอนามัยได้น้อยกว่าค่ะ

โดยถุงยางอนามัยนั้นมีหลายขนาด ค่ะ เช่น 49 mm., 52 mm., 54 mm., 56 mm. ค่ะ ขนาดที่เป็นไซส์มาตรฐานของคนไทยคือไซส์ 49 mm. และ 52 mm. ค่ะ ทั้งนี้ขนาดที่เห็นดังกล่าว ไม่ใช่ขนาดความยาวของอวัยวะเพศนะคะ แต่เป็นขนาดเส้นรอบวงของอวัยวะเพศเมื่อมีการแข็งตัวค่ะ

การเลือกไซส์ถุงยางอนามัย ให้เหมาะสมกับขนาดของอวัยวะเพศนั้นมีความสำคัญค่ะ เพราะหากเลือกไซส์ไม่เหมาะสมอาจเกิดปัญหาเหล่านี้ตามมาได้ เช่น

  • เลือกไซส์ถุงยางอนามัยใหญ่กว่าขนาดอวัยวะเพศ จะทำให้ถุงยางหลวม และหลุดขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
  • เลือกไซส์ถุงยางอนามัยเล็กกว่าขนาดอวัยวะเพศ อาจจะทำให้ถุงยางอนามัยแตกขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ค่ะ

การวัดขนาดของอวัยวะเพศเพื่อเลือกขนาดของถุงยางอนามัยให้เหมาะสม สามารถทำได้ ดังนี้ค่ะ

  1. ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว
  2. ใช้ไม้บรรทัดวัดไซส์วัดรอบอวัยวะเพศ(เส้นรอบวง) ในส่วนที่อวบที่สุด (ไม่ใช่ความยาวนะคะ)
  3. นำความยาวที่ได้มาหารด้วย 2.3 จะได้ขนาดของถุงยางอนามัยที่ควรเลือกใช้ค่ะ

เช่น วัดเส้นรอบวงอวัยวะเพศขณะแข็งตัวได้ 112 มิลลิเมตร หารด้วย 2.3 จะต้องเลือกถุงยางอนามัยไซส์ 49 mm. ค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Blue หรือ Baby Blue)

เคยคลอดลูกแล้ว หลังคลอดมีความรู้สึกเศร้า เบื่อหน่าย แบบนี้ผิดปกติหรือเปล่านะ?

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด(Postpartum Blue) เกิดจากการลดลงอย่างรวดเร็วของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen) และโปรเจสเตอโรน(Progesterone) มักจะเกิดขึ้นช่วงประมาณ 4-5 วันหลังคลอด และจะกลับมาเป็นปกติประมาณวันที่ 10 และนอกจากนี้อาจมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดร่วมได้ เช่น การพักผ่อนน้อย ต้องคอยดูแลลูก หากคุณแม่หลังคลอดสามารถปรับตัวได้และมีคนคอยช่วยเลี้ยงลูก จะลดความเครียดในส่วนนี้ลงได้ค่ะ

อาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เช่น นอนไม่หลับ เบื่อหน่าย ซึมเศร้าวิตกกังวล เป็นต้นค่ะ

จะเห็นว่านอกจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่ตัวของคุณแม่หลังคลอดเองนั้น ความเหนื่อยล้าจากการเลี้ยงดูบุตรยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ ครอบครัวและคนใกล้ชิดจึงมีความสำคัญที่จะสามารถช่วยให้อารมณ์ของคุณแม่หลังคลอดกลับสู่ภาวะปกติได้ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยดูแลบุตร การปลอบโยนและประคับประคองจิตใจของคุณแม่หลังคลอดค่ะ

เพราะภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum blues) หากปล่อยไว้นานเกินระยะเวลา 2 สัปดาห์ จะพัฒนาไปสู่โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) เช่น ซึมเศร้า เบื่อหน่ายการดูแลลูก รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีความสามารถ หรือหากถึงขั้นอยากฆ่าตัวตายได้ค่ะ ซึ่งหากเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด ผู้รับบริการจะต้องมาพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษา เพราะหากไม่รักษาจะทำให้เกิดอันตรายต่อทั้งตัวคุณแม่หลังคลอดเอง และลูกน้อยอีกด้วย

สนใจบริการ
บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสาสวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

การบริจาคอวัยวะ

ถ้าบริจาคอวัยวะ เกิดมาชาติหน้าจะพิการหรือเปล่านะ?

สิ่งหนึ่งที่ทำให้จำนวนผู้บริจาคอวัยวะของประเทศเรา มีจำนวนที่น้อย เพราะยังมีความเชื่อที่ว่า หากบริจาคอวัยวะแล้วเมื่อเสียชีวิต ถูกผ่าเอาอวัยวะออกไป เกิดมาชาติหน้าจะทำให้พิการ อวัยวะไม่ครบ
แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่เกี่ยวเลยค่ะ นอกจากนี้การบริจาคอวัยวะยังเป็น ‘ทานบารมี’ ที่ยิ่งใหญ่ในทางพุทธศาสนา ด้วยค่ะ

เมื่อเราเสียชีวิตลงจากภาวะสมองตาย (Brain Death) แล้วอวัยวะภายในของเรายังสามารถที่จะใช้งานได้ แล้วเราทำเรื่องในการบริจาคอวัยวะไว้ ร่างกายของเราจะถูกนำไปผ่าตัดเอาอวัยวะที่สามารถไปใช้สำหรับผู้ป่วยคนอื่นๆ ออกค่ะ

ซึ่งอวัยวะที่สามารถทำการผ่าตัดออกมาจากร่างกายของผู้เสียชีวิตมีจำนวนทั้งหมด 7 ชิ้น ได้แก่ ไต 2 ข้าง, ปอด 2 ข้าง, หัวใจ, ตับ, ตับอ่อน นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ ผิวหนัง ลิ้นหัวใจ กระดูกและเส้นเอ็น กระจกตา

โดยอวัยวะที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นจะถูกผ่ามาจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตาย(Brain Death)

หรือในกรณีผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต (Living Donor) ซึ่งการบริจาคในผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้บริจาคต้องมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติทางสายเลือด หรือเป็นสามีภรรยากับผู้รับเท่านั้น

และนอกจากนี้การเก็บอวัยวะและระยะเวลาในการนำอวัยวะชิ้นนั้นๆ ส่งเพื่อดำเนินการผ่าตัด นั้นมีความสำคัญมาก เพราะหากอวัยวะนั้นถูกผ่าออกมาแล้วทิ้งไว้นานเกินจะทำให้เกิดเซลล์ตาย ทำให้ไม่สามารถนำไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยอีกคนได้ค่ะ ซึ่งระยะเวลาของการปลูกถ่ายของอวัยวะต่างๆ มี ดังนี้ค่ะ

  • หัวใจ ขาดเลือดได้ไม่เกิน 4 ชั่วโมง
  • ปอด ขาดเลือดได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง
  • ตับ ขาดเลือดได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง
  • ไต ขาดเลือดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

จะเห็นแล้วใช่ไหมคะว่า การบริจาคอวัยวะเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ ที่จะสามารถช่วยต่อชีวิตให้ผู้ป่วยคนอื่นๆ ได้หลายคน หลังจากที่เราเสียชีวิตไปแล้ว หากใครที่ยังไม่ได้บริจาคอวัยวะแล้วสนใจที่จะบริจาค สามารถไปติดต่อได้ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด หรือศูนย์บริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย , เหล่ากาชาดจังหวัด ทุกแห่งค่า

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน เปลี่ยนสายให้อาหารสาย #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com