มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer)

ปากมดลูกเป็นส่วนหนึ่งของมดลูก ซึ่งเป็นอวัยวะสืบพันธ์ของเพศหญิง มะเร็งปากมดลูก(Cervical cancer) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูก โดยในระยะที่ 1 : มะเร็งจะอยู่บริเวณปากมดลูก, ในระยะที่ 2-3 : มะเร็งจะมีการแพร่ไปยังอวัยวะส่วนอื่นในอุ้งเชิงกราน และในระยะที่ 4 : มะเร็งลุกลามไปทั่วร่างกาย สามารถลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมีหลายปัจจัย เช่น
⁃ มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV สามารถลดการติดเชื้อ HPV และป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากการติดเชื้อ HPV ได้
⁃ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปากมดลูก
⁃ การสูบบุหรี่ และการสูบบุหรี่มือสอง (Secondhand smoke)
⁃ พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย (ก่อนอายุ 17 ปี) มีคู่นอนหลายคน, หรือคู่นอนผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาหลายคน เป็นต้น
⁃ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
⁃ เป็นโรคอ้วน
⁃ มีการใช้ยาคุมเป็นระยะเวลานาน
⁃ มีการคลอดลูกมาแล้วหลายครั้ง คลอดลูกคนแรก ก่อนอายุ 17 ปี

โดยอาการของมะเร็งปากมดลูก มีดังนี้ค่ะ
⁃ มีสิ่งคัดหลั่งจากช่องคลอด มีกลิ่นเหม็น
⁃ ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน หลังช่วงล่าง ขา ขาหนีบ
⁃ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
⁃ มีปัสสาวะและอุจจาระเล็ดออกทางช่องคลอด
⁃ ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะมีเลือดปน
⁃ มีการเปลี่ยนแปลงทางเซลล์วิทยา(ผลผิดปกติ) ในการตรวจ Pap test

หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก ต้องให้แพทย์ประเมินว่าควรได้รับการรักษาด้วยวิธีการใด เนื่องจากการรักษามะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งค่ะ การรักษามีวิธีการดังนี้
⁃ การรักษาด้วยเลเซอร์ (Laser therapy)
⁃ การผ่าตัดด้วยความเย็น (Cryosurgery)
⁃ การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวย (Conization)
⁃ การตัดมดลูก (Hysterectomy)

ซึ่งหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยต้องมีการดูแลตนเอง ไม่ว่าจะเป็น ลดการขึ้นลงบันได 1 เดือน หรือตามแพทย์สั่ง, หลีกเลี่ยงการแช่อ่างอาบน้ำ หรือ การนั่งเป็นระยะเวลานาน, หลีกเลี่ยงกิจกรรมหนัก หรือ การยกของหนัก (น้ำหนัก 9 กิโลกรัม), หลีกเลี่ยงการขับรถภายตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด เป็นต้นค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ต้อกระจก (Cataract)

เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ร่างกายก็จะเกิดความเสื่อมได้ตามวัย สิ่งหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ คือ ปัญหาทางด้านการมองเห็นค่ะ ซึ่งต้อกระจก (Cataract) เป็นหนึ่งในปัญหาการมองเห็นที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุค่ะ เรามาดูกันค่ะว่า ต้อกระจก คืออะไร

ต้อกระจก คือ การเปลี่ยนแปลงของเลนส์ตาเกิดความขุ่น ทำให้ภาพที่จอประสาทตา (Retina) ไม่ชัดเจน พร่ามัว หากไม่รักษาจะนำไปสู่ภาวะตาบอดได้ค่ะ

สาเหตุที่ทำให้เกิดต้อกระจก

  1. ต้อกระจกในผู้สูงอายุ (Senile cataract)
  2. ต้อกระจกแต่กำเนิด (Congenital cataract)
  3. ต้อกระจกจากการได้รับบาดเจ็บ (Traumatic catarct)
    และนอกจากนี้ โรคต้อกระจก ยังสามารถเกิดได้จากการเจ็บป่วยจากโรคอื่น ซึ่งส่งผลต่อตา (Secondary cataract) เช่น เบาหวาน หรือการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์

ต้อกระจก มีอาการอย่างไร

  • ระยะแรก (Early sign): ผู้ป่วยจะมองเห็นภาพไม่ชัด มองเห็นสีของของภาพลดลงเหมือนมีฝ้า หรือหมอกมาบังตา
  • ระยะหลัง(Late sign) : ผู้ป่วยจะเริ่มมีการเห็นภาพซ้อน ความคมชัดในการมองเห็นภาพลดลง รูม่านตา(Pupil) เป็นสีขาว
  • สุดท้ายผู้ป่วยจะสูญเสียการมองเห็น(Loss of vision)

ซึ่งหากผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่บ้านมีอาการข้างต้นดังกล่าว แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการผ่าตัดเพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็น ในผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจก จะมีอาการเจ็บตาหรือตาแดงร่วมด้วยได้ค่ะ

การดูแลตนเองหลังการผ่าตัดต้อกระจก

  1. หลีกเลี่ยงการ ไอ จาม อาเจียน หรือยกของหนัก
  2. ช่วง 2-3 วันแรก หลังการผ่าตัดอาจมีอาการคันตาได้ หลีกเลี่ยงการถู หรือวางของที่ทำให้เกิดแรงกดลงที่ตา
  3. หลีกเลี่ยงภาวะท้องผูก เนื่องจากจะทำให้เกิดการเบ่งได้ แนะนำให้ทานอาหารเพิ่มไฟเบอร์ ดื่มน้ำ หรือใช้ยาระบายเพื่อลดภาวะท้องผูก
  4. หากมีสิ่งคัดหลั่งจากตา หรือน้ำตา เช็ดทำความสะอาดตาด้วยสำลีสเตอร์ไรด์ชุบน้ำเกลือ (NSS) โดยเช็ดจากหัวตาไปหางตา
  5. สวมใส่ที่ครอบตา(Eye shield) ขณะนอนหลับ
  6. หากมีอาการผิดปกติ เช่น การมองเห็นลดลง เจ็บตามาก ตาแดงขึ้น หรือมีสิ่งคัดหลั่งออกจากตามากผิดปกติ แนะนำให้ไปพบแพทย์ก่อนวันนัด

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ภาวะทองแดง(Cryptorchidism) มีลูกได้ไหม

ภาวะไข่ทองแดง หรือ ภาวะอัณฑะ (Testis) ไม่ลงถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum) สามารถเกิดได้ทั้งแบบอัณฑะ ไม่ลงถุงอัณฑะแบบข้างเดียว(มีไข่ข้างเดียว) หรืออัณฑะไม่ลงถุงหุ้มอัณฑะทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเป็นภาวะที่มักพบในทารกที่คลอดก่อนกำหนดค่ะ

โดยปกติแล้วอัณฑะ ของเพศชายจะต้องมี 2 ข้าง หรือมีอัณฑะ(ไข่) 2 ลูกค่ะ ซึ่งในขณะช่วงพัฒนาการในวัยเด็กไข่จะเดินทางจากช่องท้องลงมาสู่ถุงหุ้มอัณฑะ

ถ้าไข่ไม่ลงถุงอัณฑะ แล้วไข่จะไปไหน?
ถ้าไข่(อัณฑะ) ไม่ลงถุงอัณฑะจะค้างอยู่ในช่องท้องค่ะ ซึ่งหากอัณฑะค้างในช่องท้องหรือบริเวณขาหนีบจะทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการมีชีวิตของตัวอสุจิ ซึ่งภาวะไข่ไม่ลงถุงอัณฑะจะเกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ เพราะปกติลูกอัณฑะของทารกจะเคลื่อนตัวลงมาอยู่ในถุงหุ้มอัณฑะเมื่ออายุครรภ์ 9 เดือนค่ะ ซึ่งการวินิจฉัยภาวะอัณฑะค้างจะสามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่หลังคลอด แต่หากระยะเวลาผ่านไป 4-6 เดือน อัณฑะยังไม่เคลื่อนตัวลงมาอยู่ในถุงอัณฑะตามปกติ สามารถเข้ารับการรักษาผ่าตัดแก้ไขได้ค่ะ

ผู้ป่วยที่มีภาวะอัณฑะไม่ลงถุงอัณฑะถ้าไม่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขจะทำให้มีความเสี่ยงในการพัฒนาต่อไปเป็นมะเร็งอัณฑะได้ค่ะ

ภาวะอัณฑะไม่ลงถุงอัณฑะนั้นหากไม่ลงเพียงข้างเดียว หรือมีอัณฑะข้างเดียว (Monochidism) อัณฑะนั้นข้างยังสามารถสร้างตัวอสุจิได้ค่ะ แต่อาจส่งผลทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากเนื่องจากปริมาณตัวอสุจิในน้ำอสุจิน้อยกว่าคนทั่วไป หากคุณผู้หญิงมีแฟนที่มีอัณฑะข้างเดียว เวลามีเพศสัมพันธ์หากยังไม่ต้องการมีบุตร ยังต้องมีการคุมกำเนิดอยู่ค่ะ เพราะคุณผู้หญิงยังสามารถท้องได้ เนื่องจากในน้ำอสุจิมีตัวอสุจิอยู่ค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ภาพประกอบจาก Image by rawpixel.com on Freepik

หูชั้นกลางอักเสบในเด็ก (Otitis Media)

หูชั้นกลางอักเสบ หรือ ‘หูน้ำหนวก’ (Otitis media) คือ การอักเสบที่มักเกิดจากติดเชื้อของหูชั้นกลาง จากการอุดตันของท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) สามารถเกิดได้ทั้งแบบฉับพลันและแบบเรื้อรัง

การอักเสบของหูชั้นกลาง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น การติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) , ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) , การติดเชื้อ Group A Steptococcus

โดยในเด็กและทารกท่อยูสเตเชียน (Eustachian tubes) จะสั้นและอยู่ในแนวระนาบมากกว่าของผู้ใหญ่จึงทำให้เชื้อโรคจากโพรงจมูกเข้าสู่หูชั้นกลางได้ง่าย จึงสามารถเกิดการอักเสบที่หูชั้นกลางได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่นั่นเองค่ะ

เราจะสามารถป้องกันการอักเสบของหูชั้นกลางได้อย่างไร

  1. ดูแลจัดท่าศีรษะสูงขณะป้อนนมหรือเพื่อป้องกันการไหลย้อนเข้าหูชั้นกลาง
  2. ดูแลให้เด็กและทารกได้รับวัคซีนเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันตามวัย
  3. กระตุ้นให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนแรกหลังคลอด
  4. หลีกเลี่ยงให้เด็กและทารกสัมผัสกับควันบุหรี่และสารก่อภูมิแพ้

เมื่อมีเกิดการอักเสบของหูชั้นกลางขึ้น เด็กหรือทารกจะมีอาการ/อาการแสดง ดังนี้

  1. มีไข้ ปวดหู
  2. ร้องงอแง
  3. ความอยากอาหารลดลง ไม่ดูดนม/ไม่ทานอาหาร
  4. ส่ายศีรษะไปมา ดึงหู ถูที่หู
  5. มีหนองไหลออกมาจากหู
  6. การได้ยินลดลง

เมื่อมีการอักเสบของหูชั้นกลางเกิดขึ้น การดูแลสามารถทำได้ ดังนี้ค่ะ

  1. กระตุ้นให้เด็กได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารอ่อนหลีกเลี่ยงอาหารที่แข็ง ต้องเคี้ยวเพราะจะทำให้เกิดการกระเทือนทำให้ปวดหูมากขึ้นได้
  2. ดูแลให้เด็ก/ทารก นอนตะแคงหูด้านที่มีการอักเสบของหูชั้นกลางลง
  3. แนะนำให้พ่อแม่ดูแลทำความสะอาดสิ่งคัดหลั่งที่ไหลออกมาที่ช่องหูด้านนอกด้วยไม้พันสำลี/ก๊อซแบบปราศจากเชื้อโรค (sterile)

และนอกจากการดูแลเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว พ่อแม่ยังต้องดูแลด้านอื่นๆ เช่น รับประทานยาฆ่าเชื้อให้ครบ ตามคำสั่งแพทย์ หรือการประคบเย็น/ประคบร้อน เพื่อบรรเทาความไม่สุขสบาย รับประทานยาแก้ปวด ตามคำสั่งการรักษาอีกด้วยค่ะ

ในบางเคสที่มีการคั่งของหนองมาก อาจต้องทำการรักษาด้วยการเจาะเยื่อบุแก้วหู (Myringotomy)โดยการกรีดที่เยื่อแก้วหู (Tympanic membrane) และอาจมีการวางท่อระบาย (Tympanoplasty tube) ไปที่หูชั้นกลางเพื่อระบายสิ่งคัดหลั่ง ลดแรงดันในหู และยังช่วยในเรื่องของการถ่ายเทอากาศด้วยค่ะ ซึ่งท่อที่สอดเข้าไปที่หูชั้นกลางจะหลุดออกมาเองในระยะเวลา 6-12 เดือนค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD)

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD)

‘กินแล้วไปนอนระวังจะเป็นกรดไหลย้อนนะ’ มีใครเคยโดนเตือนแบบนี้กันบ้างคะ การกินแล้วไปนอนจะทำให้เป็นกรดไหลย้อนจริงไหมน้า

ก่อนอื่น เรามาดูกันก่อนว่ากรดไหลย้อน หรือที่เรียก เกิร์ด (GERD) คืออะไร

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : Gerd) คือ ภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่การไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดความรู้สึกแสบร้อนกลางอกและลิ้นปี่(Heartburn) หรือบางคนอาจมีอาการเรอเปรี้ยว ไอเรื้อรัง กลืนลำบากร่วมด้วยค่ะ

ซึ่งอาการของกรดไหลย้อนที่สัมพันธ์กับมื้ออาหาร เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป กระเพาะของเราจะหลั่งน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อยอาหารค่ะ ซึ่งหากเรามีพฤติกรรมที่รับประทานอาหารเสร็จแล้ว แล้วไปนอนเลยก็จะทำให้กรดหรือน้ำย่อยย้อนกลับขึ้นมาที่ทางเดินอาหารได้ค่ะ

แต่หากใครที่ง่วง หลังรับประทานอาหารอิ่มและต้องการงีบหลับจริงๆ แนะนำให้หลับในท่าศีรษะสูง หรือนั่งพิงพักหลับค่ะ

หากเป็นกรดไหลย้อนแล้ว สามารถรักษาได้อย่างไร

  1. ปรับพฤติกรรมการบริโภค ลดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โกโก้ น้ำอัดลม เนื่องจากทำให้หูรูดของกระเพาะอาหารหย่อนตัวลง
  2. ลดการทานอาหารรสเปรี้ยว รสเผ็ดจัด
  3. ลดการรับประทานของทอด เพราะไขมันใช้เวลาย่อยนาน หากรับประของทอด ของมันในปริมาณมากควรเว้นระยะเวลาให้ห่างจากการเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมงค่ะ
  4. ปรับพฤติกรรมตนเอง ไม่รับประทานอาหารอิ่มแล้วไปนอนควรเว้นระยะเวลาอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง และควรนอนศีรษะสูงอย่างน้อย 4-6 นิ้วเพื่อป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร
  5. ไม่ใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปหรือเข็มขัดที่รัดแน่นเกินไป
  6. ใช้หมอนกันกรดไหลย้อน เพื่อช่วยปรับสรีระท่านอนให้ศีรษะสูงขึ้นประมาณ 15-30 องศา เพื่อช่วยให้กระเพาะอาหารอยู่ต่ำ ป้องกันการไหลย้อนของกรดขึ้นมาที่หลอดอาหารได้

เห็นไหมคะว่า เพียงการปรับพฤติกรรม ก็ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนได้แล้วค่ะ

แต่หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา เพราะหากเราปล่อยให้กรดเกิดการไหลย้อนขึ้นมาบ่อยๆ ไม่ทำการรักษาจะทำให้เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบตามมา หรือหากเกิดการอักเสบเรื้อรังเป็นระยะเวลานานอาจทำให้หลอดอาหารบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บมีโอกาสพัฒนาไปเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com