ความดันโลหิต (Blood pressure) คือค่าคแรงดันของกระแสเลือด ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ โดยความดันโลหิต มี 2 ค่า
1. ความดันช่วงบน (Systolic blood pressure) เป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว
2. ความดันช่วงล่าง (Diastolic blood pressure) เป็นความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว
โดยระดับความดันโลหิตที่สูง คือ ความดันช่วงบนมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท (mmHg.) หรือ ความดันช่วงล่างมากกว่า 90 มิลลเมตรปรอท (mmHg.)
หรือหากสูงทั้ง 2 ช่วง ก็มีโอกาสที่จะเกิดภายะแทรกซ้อนได้มากเลยค่ะ
อาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจมีภาวะความดันโลหิตสูง ที่พบบ่อย มีดังนี้
???? ปวดศีรษะ
???? หน้ามืด
???? คลื่นไส้ อาเจียน
???? ตาพร่ามัว
หากคุณมีอาการต่างๆ เหล่านี้อย่าลืมตรวจเช็คความดันกันด้วยนะคะ เพราะหากปล่อยไว้ไม่ไปรักษา หรือควบคุมความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับปกติ อาจทำให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก(Stroke) ได้ค่ะ
สนใจบริการ
#พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน
ติดต่อสอบถามถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel ????: 063-526-5593
E-mail ????: unitynursingcare@gmail.com
www.unitynursingcare.com
หมายเหตุ : ให้บริการในเขตพื้นที่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล
แผลกดทับ (Pressure sore)
เกิดจากเนื้อเยื่อและหลอดเลือดขาดสารอาหารจากการถูกแรงกดทับ ทำให้การไหลเวียนเลือดบกพร่อง ทำให้เกิดเนื้อเยื่อตายได้
แผลกดทับเกิดได้มาก เมื่อผู้ป่วยอยู่ในท่านอน ซึ่งจะเกิดบริเวณก้น สะโพก ส้นเท้า
การดูแลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
1. เปลี่ยนท่าหรือกระตุ้นให้ผู้ป่วยเปลี่ยนอิริยาบททุก 2 ชั่วโมง
2. ดูแลผิวหนังให้แห้งสะอาด ทาโลชั่นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น
3. กรณีผู้ป่วยติดเตียงให้ยกผู้ป่วยแทนวิธีการดึกลาก
4. ไม่ปล่อยให้ผิวหนังแห้งแตกหรือปนเปื้อนสิ่งขับถ่าย
5. ใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อลดแรงกดทับ เช่น หมอนโดนัท
6. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนเพื่อให้เนื้อเยื่อได้รับสารอาหารและออกซิเจนอย่างเพียงพอ
กรณีหากเกิดแผลกดทับแล้ว ต้องทำความสะอาดแผลตามที่แพทย์ พยาบาลแนะนำ หากดูแลรักษาเบื้องต้นไม่หาย แผลมีแดงร้อน มีหนองซึม หรือมีขนาดใหญ่ขึ้น ควรรีบไปโรงพยาบาล
โซเดียม (Sodium)
มาดูกันค่ะว่า คืออะไร?
โซเดียม เป็นเกลือแร่ที่ช่วยควบคุมความสมดุลของน้ำนอกเซลล์และในระบบหมุนเวียนของร่างกาย
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอ (Tracheostomy tube)
1. ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้เสมหะอ่อนนุ่ม ขับออกง่าย
2. หลีกเลี่ยงที่อากาศเย็น หรือแห้งจัด เพราะจะทำให้เสมหะแห้งและขับออกได้ยาก
3. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนแออัดและการใกล้ชิดกับคนที่เป็นหวัด เพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
4. เมื่อออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ควรใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าพันคอปิดคอ เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกเข้าไปยังหลอดลม
5. ไม่ดูดเสมหะหลังการทานอาหารเพราะจะทำให้เกิดการสำลักอาหารลงปอดได้
6. ฝึกการสื่อสาร โดยใช้นิ้วมืออุดท่อหลอดลมคอขณะสื่อสารเป็นระยะเวลาสั้นๆ หรือการเขียนบอกในกระดาษ
ข้อควรระวัง
ระวังน้ำเข้าไปในท่อหลอดลมคอ เช่น ขณะอาบน้ำ การโดยสารทางเรือ หรือการออกจากบ้านขณะฝนตกเพราะจะทำให้เกิดการสำลักน้ำและขาดอากาศได้
สนใจบริการ
#พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน
ติดต่อสอบถามถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel ????: 063-526-5593
E-mail ????: unitynursingcare@gmail.com
www.unitynursingcare.com
หมายเหตุ : ให้บริการในเขตพื้นที่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล