หูชั้นกลางอักเสบในเด็ก (Otitis Media)

หูชั้นกลางอักเสบ หรือ ‘หูน้ำหนวก’ (Otitis media) คือ การอักเสบที่มักเกิดจากติดเชื้อของหูชั้นกลาง จากการอุดตันของท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) สามารถเกิดได้ทั้งแบบฉับพลันและแบบเรื้อรัง

การอักเสบของหูชั้นกลาง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น การติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) , ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) , การติดเชื้อ Group A Steptococcus

โดยในเด็กและทารกท่อยูสเตเชียน (Eustachian tubes) จะสั้นและอยู่ในแนวระนาบมากกว่าของผู้ใหญ่จึงทำให้เชื้อโรคจากโพรงจมูกเข้าสู่หูชั้นกลางได้ง่าย จึงสามารถเกิดการอักเสบที่หูชั้นกลางได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่นั่นเองค่ะ

เราจะสามารถป้องกันการอักเสบของหูชั้นกลางได้อย่างไร

  1. ดูแลจัดท่าศีรษะสูงขณะป้อนนมหรือเพื่อป้องกันการไหลย้อนเข้าหูชั้นกลาง
  2. ดูแลให้เด็กและทารกได้รับวัคซีนเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันตามวัย
  3. กระตุ้นให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนแรกหลังคลอด
  4. หลีกเลี่ยงให้เด็กและทารกสัมผัสกับควันบุหรี่และสารก่อภูมิแพ้

เมื่อมีเกิดการอักเสบของหูชั้นกลางขึ้น เด็กหรือทารกจะมีอาการ/อาการแสดง ดังนี้

  1. มีไข้ ปวดหู
  2. ร้องงอแง
  3. ความอยากอาหารลดลง ไม่ดูดนม/ไม่ทานอาหาร
  4. ส่ายศีรษะไปมา ดึงหู ถูที่หู
  5. มีหนองไหลออกมาจากหู
  6. การได้ยินลดลง

เมื่อมีการอักเสบของหูชั้นกลางเกิดขึ้น การดูแลสามารถทำได้ ดังนี้ค่ะ

  1. กระตุ้นให้เด็กได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารอ่อนหลีกเลี่ยงอาหารที่แข็ง ต้องเคี้ยวเพราะจะทำให้เกิดการกระเทือนทำให้ปวดหูมากขึ้นได้
  2. ดูแลให้เด็ก/ทารก นอนตะแคงหูด้านที่มีการอักเสบของหูชั้นกลางลง
  3. แนะนำให้พ่อแม่ดูแลทำความสะอาดสิ่งคัดหลั่งที่ไหลออกมาที่ช่องหูด้านนอกด้วยไม้พันสำลี/ก๊อซแบบปราศจากเชื้อโรค (sterile)

และนอกจากการดูแลเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว พ่อแม่ยังต้องดูแลด้านอื่นๆ เช่น รับประทานยาฆ่าเชื้อให้ครบ ตามคำสั่งแพทย์ หรือการประคบเย็น/ประคบร้อน เพื่อบรรเทาความไม่สุขสบาย รับประทานยาแก้ปวด ตามคำสั่งการรักษาอีกด้วยค่ะ

ในบางเคสที่มีการคั่งของหนองมาก อาจต้องทำการรักษาด้วยการเจาะเยื่อบุแก้วหู (Myringotomy)โดยการกรีดที่เยื่อแก้วหู (Tympanic membrane) และอาจมีการวางท่อระบาย (Tympanoplasty tube) ไปที่หูชั้นกลางเพื่อระบายสิ่งคัดหลั่ง ลดแรงดันในหู และยังช่วยในเรื่องของการถ่ายเทอากาศด้วยค่ะ ซึ่งท่อที่สอดเข้าไปที่หูชั้นกลางจะหลุดออกมาเองในระยะเวลา 6-12 เดือนค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD)

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD)

‘กินแล้วไปนอนระวังจะเป็นกรดไหลย้อนนะ’ มีใครเคยโดนเตือนแบบนี้กันบ้างคะ การกินแล้วไปนอนจะทำให้เป็นกรดไหลย้อนจริงไหมน้า

ก่อนอื่น เรามาดูกันก่อนว่ากรดไหลย้อน หรือที่เรียก เกิร์ด (GERD) คืออะไร

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : Gerd) คือ ภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่การไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดความรู้สึกแสบร้อนกลางอกและลิ้นปี่(Heartburn) หรือบางคนอาจมีอาการเรอเปรี้ยว ไอเรื้อรัง กลืนลำบากร่วมด้วยค่ะ

ซึ่งอาการของกรดไหลย้อนที่สัมพันธ์กับมื้ออาหาร เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป กระเพาะของเราจะหลั่งน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อยอาหารค่ะ ซึ่งหากเรามีพฤติกรรมที่รับประทานอาหารเสร็จแล้ว แล้วไปนอนเลยก็จะทำให้กรดหรือน้ำย่อยย้อนกลับขึ้นมาที่ทางเดินอาหารได้ค่ะ

แต่หากใครที่ง่วง หลังรับประทานอาหารอิ่มและต้องการงีบหลับจริงๆ แนะนำให้หลับในท่าศีรษะสูง หรือนั่งพิงพักหลับค่ะ

หากเป็นกรดไหลย้อนแล้ว สามารถรักษาได้อย่างไร

  1. ปรับพฤติกรรมการบริโภค ลดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โกโก้ น้ำอัดลม เนื่องจากทำให้หูรูดของกระเพาะอาหารหย่อนตัวลง
  2. ลดการทานอาหารรสเปรี้ยว รสเผ็ดจัด
  3. ลดการรับประทานของทอด เพราะไขมันใช้เวลาย่อยนาน หากรับประของทอด ของมันในปริมาณมากควรเว้นระยะเวลาให้ห่างจากการเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมงค่ะ
  4. ปรับพฤติกรรมตนเอง ไม่รับประทานอาหารอิ่มแล้วไปนอนควรเว้นระยะเวลาอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง และควรนอนศีรษะสูงอย่างน้อย 4-6 นิ้วเพื่อป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร
  5. ไม่ใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปหรือเข็มขัดที่รัดแน่นเกินไป
  6. ใช้หมอนกันกรดไหลย้อน เพื่อช่วยปรับสรีระท่านอนให้ศีรษะสูงขึ้นประมาณ 15-30 องศา เพื่อช่วยให้กระเพาะอาหารอยู่ต่ำ ป้องกันการไหลย้อนของกรดขึ้นมาที่หลอดอาหารได้

เห็นไหมคะว่า เพียงการปรับพฤติกรรม ก็ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนได้แล้วค่ะ

แต่หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา เพราะหากเราปล่อยให้กรดเกิดการไหลย้อนขึ้นมาบ่อยๆ ไม่ทำการรักษาจะทำให้เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบตามมา หรือหากเกิดการอักเสบเรื้อรังเป็นระยะเวลานานอาจทำให้หลอดอาหารบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บมีโอกาสพัฒนาไปเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ผู้สูงอายุเบื่ออาหารทำอย่างไรดี

เมื่อผู้สูงอายุ อายุเยอะขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเกิดขึ้นทำให้สมรรถภาพในการทำสิ่งต่างๆ ถดถอยไปจากสมัยวัยหนุ่มสาว รวมถึงในเรื่องของการรับประทานอาหาร ทำให้ผู้สูงอายุได้รับอาหารลดลง และทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารลดลง นำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการได้ค่ะ

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่ทำให้ผู้สูงอายุทานอาหารได้ลดลง

  1. การรับรสชาติอาหารได้ลดลง จากการลดลดของตุ่มรับรสและความเสื่อมของเซลล์รับรส ส่งผลให้ความอยากอาหารลดลง และนอกจากนี้การรับรสที่ลดลงทำให้ผู้สูงอายุมักรับประทานที่มีรสชาติจัดขึ้น เช่น หวานขึ้น เค็มขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะสุขภาพในเรื่องของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้ไม่สามรถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ได้
  2. ลิ้นรับรสขมเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความอยากอาหารลดลง
  3. ภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย ส่งผลต่อความลำบากในการเคี้ยว การกลืนอาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้ลดลง
  4. ความไวต่อความรู้สึกในช่องปากเพิ่มขึ้น ทำให้รู้สึกเผ็ดร้อน แสบปากได้ง่าย
  5. การได้รับกลิ่นลดลง ส่งผลให้ความอยากรับประทานอาหารลดลง
  6. ความแข็งแรงของฟันลดลง และมีภาวะเหงือร่นทำให้ไม่สามารถเคี้ยวอาหารที่แข็งได้

วิธีกระตุ้นให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น

  1. ทำอาหารให้อ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย
  2. ทำอาหารให้ชิ้นเล็ก มีน้ำเป็นส่วนประกอบเพื่อให้ง่ายต่อการกลืน
  3. ทำอาหารให้หลากหลาย ไม่จำเจ
  4. สร้างบรรยากาศในการรับประทานอาหารให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น ให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารร่วมกับคนในครอบครัว เปิดเพลงที่ผู้สูงอายุชื่นชอบให้ฟังขณะรับประทานอาหาร
  5. ดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทนมผง สูตรครบถ้วนที่มีสารอาหาร 5 หมู่ เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างเพียงพอ

การดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนนั้นมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยส่งเสริมในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยไม่ให้ร่างกายติดเชื้อได้ง่าย และหากมีภาวะเจ็บป่วย มีแผล การที่ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้เร็วขึ้นอีกด้วยค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes : GDM)

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes : GDM)

ใครที่กำลังวางแผนในการมีบุตร หรือกำลังตั้งครรภ์ ทราบกันไหมคะว่า การไปฝากท้องนอกจากจะต้องประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์แล้วนั้น ก็ต้องมีการประเมินภาวะสุขภาพของมารดาด้วยเช่นกันค่ะ

หนึ่งในภาวะสุขภาพที่ต้องประเมิน ของมารดาขณะตั้งครรภ์ คือ การคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์(Gestational Diabetes : GDM) ซึ่งมักจะพบช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ หรือเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ค่ะ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์เกิดจากการที่ร่างกายของเรามีการสร้างรก ซึ่งรกสร้าง Human Placental Lactogen (HPL) ซึ่งกระตุ้นการสลายไขมันและโปรตีน ทำให้เกิดการสังเคราะห์ glucose เพิ่มขึ้น จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าในคนปกติ และยังมีฤทธิ์ต้านการทำงานของอินซูลิน(insuline resistance) ด้วยค่ะ ซึ่งโดยปกติแล้วภาวะนี้จะหายไปได้เองหลังจากมารดาคลอดทารกออกมาค่ะ

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดเนื่องจากทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าเกณฑ์ค่ะ

ซึ่งการประเมินภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะทำตั้งแต่การฝากครรภ์ครั้งแรก ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีข้อบ่งชี้ตามแบบการตรวจคัดกรองเบาหวานดื่มน้ำตาลกลูโคส 50 กรัมแล้วตรวจเลือดหลังดื่ม 1 ชั่วโมงโดยการแปลผลการตรวจ เป็นดังนี้ค่ะ

  • ระดับน้ำตาลในเลือด < 140 mg/dl นัดตรวจซ้ำเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์
  • ระดับน้ำตาลในเลือด 140-199 mg/dl นัดมาตรวจอีก 1 สัปดาห์เพื่อวินิจฉัยภาวะเบาหวาน
  • ระดับน้ำตาลในเลือด > = 200 mg/dl วินิจฉัยว่ามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การวินิจฉัยภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในหญิงตั้งครรภ์ที่เจาะน้ำตาลในเลือดได้ตั้งแต่ 140 mg/dl ด้วยวิธีที่เรียกว่า ‘Oral Glucose Tolerance Test : OGTT’ โดยวิธีการตรวจทำได้ดังนี้ค่ะ

  1. แจ้งหญิงตั้งครรภ์ให้งดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง(ไม่ควรเกิน 14 ชั่วโมง) ก่อนการมาเจาะเลือดตรวจที่ รพ.
  2. หลังจากนั้นให้หญิงตั้งครรภ์ ดื่มน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม แล้วทำการเจาะเลือดตรวจทุก 1 ชั่วโมง จำนวน 3 ครั้ง
  3. หลังจากเจาะเลือดครบแล้วจึงค่อยให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานอาหารได้ค่ะ
    ซึ่งระดับน้ำตาลปกติ ต้องไม่เกิน 95,180,155,140 mg/dl

หากค่าน้ำตาลในเลือดที่เจาะได้เกินค่าปกติจำนวนตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไป วินิจฉัยได้ว่า หญิงตั้งครรภ์นั้นมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ค่ะ

โดยการรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ต้องควบคุมการรับประทานอาหาร เช่น งดการทานอาหารจุกจิก ทานอาหารให้เป็นเวลา ครบ 5 หมู่ และนอกจากนี้ควรเพิ่มการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยสามารถออกกำลังกายในแบบที่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์

หากควบคุมอาหารแล้วยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้แพทย์อาจมีการพิจารณาให้ยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมาได้ค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

เลือก ถุงยางอนามัย ไซส์ไหนดี

ถุงยางอนามัย (Condom) มาจากภาษาละติน แปลว่า ภาชนะรองรับ

การใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วยค่ะ โดยถุงยางอนามัยมีทั้งแบบของผู้หญิง และถุงยางอนามัยของผู้ชาย แต่คนส่วนใหญ่เมื่อนึกถึงถุงยางอนามัยจะนึกถึงถุงยางอนามัยของผู้ชาย ก่อนค่ะ เพราะถุงยางอนามัยของผู้ชายเป็นที่นิยมเนื่องจากหาซื้อได้ง่ายและใช้งานได้สะดวกค่ะ
ถุงยางอนามัย ถูกผลิตขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1564 เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยวิวัฒนาการของถุงยางอนามัย แต่ก่อนมีการใช้ไส้แกะในการทำถุงยางอนามัย ในปัจจุบันถุงยางอนามัยถูกผลิตโดย โพลียูรีเทน เนื่องจากราคาถูก หาซื้อได้ง่าย ป้องกันเชื้อไวรัสได้และทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพ้ถุงยางอนามัยได้น้อยกว่าค่ะ

โดยถุงยางอนามัยนั้นมีหลายขนาด ค่ะ เช่น 49 mm., 52 mm., 54 mm., 56 mm. ค่ะ ขนาดที่เป็นไซส์มาตรฐานของคนไทยคือไซส์ 49 mm. และ 52 mm. ค่ะ ทั้งนี้ขนาดที่เห็นดังกล่าว ไม่ใช่ขนาดความยาวของอวัยวะเพศนะคะ แต่เป็นขนาดเส้นรอบวงของอวัยวะเพศเมื่อมีการแข็งตัวค่ะ

การเลือกไซส์ถุงยางอนามัย ให้เหมาะสมกับขนาดของอวัยวะเพศนั้นมีความสำคัญค่ะ เพราะหากเลือกไซส์ไม่เหมาะสมอาจเกิดปัญหาเหล่านี้ตามมาได้ เช่น

  • เลือกไซส์ถุงยางอนามัยใหญ่กว่าขนาดอวัยวะเพศ จะทำให้ถุงยางหลวม และหลุดขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
  • เลือกไซส์ถุงยางอนามัยเล็กกว่าขนาดอวัยวะเพศ อาจจะทำให้ถุงยางอนามัยแตกขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ค่ะ

การวัดขนาดของอวัยวะเพศเพื่อเลือกขนาดของถุงยางอนามัยให้เหมาะสม สามารถทำได้ ดังนี้ค่ะ

  1. ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว
  2. ใช้ไม้บรรทัดวัดไซส์วัดรอบอวัยวะเพศ(เส้นรอบวง) ในส่วนที่อวบที่สุด (ไม่ใช่ความยาวนะคะ)
  3. นำความยาวที่ได้มาหารด้วย 2.3 จะได้ขนาดของถุงยางอนามัยที่ควรเลือกใช้ค่ะ

เช่น วัดเส้นรอบวงอวัยวะเพศขณะแข็งตัวได้ 112 มิลลิเมตร หารด้วย 2.3 จะต้องเลือกถุงยางอนามัยไซส์ 49 mm. ค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com