วิตามินอะไร ละลายในไขมันบ้าง?

สมัยเด็กๆ ตอนที่เราเรียนกันมา จำได้ไหมคะว่า วิตามินนั้น มีมากมายหลากหลายชนิด แต่วิตามินที่ละลายได้ในไขมันนั้นมีเพียง 4 ตัวเท่านั้นค่ะ ได้แก่ A D E K ค่ะ

ถ้าวิตามินมีแค่ 4 ตัวนี้ที่ละลายในไขมัน สงสัยกันไหมคะว่าแล้ววิตามินตัวอื่นๆ ละลายในอะไร คำตอบก็คือ… ละลายในน้ำค่ะ ซึ่งในร่างกายเราก็คือน้ำเลือดนั่นเอง

แล้ววิตามิน A D E K มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

🔹Vitamin A มักพบในน้ำมันตับปลา เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ผักสีเหลือง สีส้ม เช่น ฟักทอง แครอท วิตามินเอมีส่วนช่วยในเรื่องของการบำรุงสายตาค่ะ

🔹Vitamin D เป็นวิตามินที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองเมื่อร่างกายของเราสัมผัสกับแสงแดด หรือเราสามารถพบวิตามิน D ได้ในน้ำมันตับปลา ปลาแซลม่อน โดยวิตามิน D มีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมของร่างกายและยังช่วยในเรื่องของการเสริมระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วยค่ะ

🔹Vitamin E พบได้ในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน ซึ่งวิตามิน E จะมีส่วนช่วยในเรื่องของการบำรุงผิวพรรณ ต่อต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบ

🔹Vitamin K พบในไข่แดง ผักใบเขียว น้ำมันมะกอก น้ำมันตับปลา วิตามิน K ทำหน้าที่ช่วยเรื่องกลไกการแข็งตัวของเลือดเมื่อเกิดบาดแผลค่ะ

จะเห็นกันแล้วใช่ไหมคะว่าวิตามินแต่ละชนิดให้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน ซึ่งหากเรารู้จักเลือกรับประทานผัก ผลไม้หรืออาหารที่กล่าวไปข้างต้น จะทำให้เราได้รับวิตามินเหล่านั้นเข้าร่างกายเราตามธรรมชาติค่ะ

บางคนอาจจะมีคำถามว่า กว่าจะได้รับวิตามินต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย ต้องไปเลือกซื้อเลือกหาอาหาร หรือกินอาหารหลากหลายชนิดขนาดนั้นก็คงทำได้ลำบาก ปัจจุบันจึงมีวิตามินเสริมของหลายยี่ห้อ ออกมาจำหน่ายสำหรับผู้ที่ต้องการได้รับวิตามินนั้นๆ ค่ะ

แต่อย่าลืมว่า วิตามิน ทานมากไปเกินความต้องการของร่างกายก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีค่ะ โดยเฉพาะวิตามินที่ละลายในไขมัน เพราะไม่สามารถขับออกทางปัสสาวะได้เหมือนวิตามินที่ละลายในน้ำ จะก่อให้เกิดพิษกับตับ ไตของเราได้นั่นเองค่า

สนใจรับบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

Vitamin D

Vitamin D

เคยได้ยินกันใช่ไหมคะว่า ตากแดดนี่ดีนะ ทำให้ร่างกายของเราได้รับวิตามินดี ด้วย แต่ต้องเป็นแสงแดดอ่อนๆ ที่ไม่แรงจัดค่ะ หากแดดร้อนจัดแล้วไปยืนตากแดดเพื่อรับวิตามินดี อาจจะเกิดผลเสียต่อผิวหนังมากกว่าผลดีค่ะ เพราะนอกจากจะทำให้ผิวหนังของเราเกิดการสร้างเม็ดสีผิวทำให้ผิวคล้ำขึ้นแล้ว จะยังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังอีกด้วยค่า

โดยเราสามารถรับ Vitamin D ได้จาก

  1. การสัมผัสแสงแดด การทำกิจกรรมกลางแจ้งเพิ่มขึ้น เช่น การออกกำลังกาย โดยแนะนำให้สัมผัสแสงแดดช่วงเช้าหรือช่วงเย็นที่แดดไม่ร้อนจัดอย่างน้อย 15-30 นาที/วัน ค่ะ
  2. การรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินดี เช่น ไข่ นม ปลาแซลม่อน ปลาทูน่า ปลาซาดีน เป็นต้น

ซึ่ง Vitamin D จะมีส่วนช่วยใน

  1. การดูดซึมแคลเซียม (Calcium) ในร่างกาย ช่วยในการป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุน(Osteoporosis) จึงเห็นว่าอาหารเสริมแคลเซียมที่วางขายกันในปัจจุบันมีการใส่วิตามินดีลงไปด้วย เพื่อช่วยให้แคลเซียมสามารถดูดซึมได้ดีขึ้นนั่นเองค่ะ
  2. ช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immune System)
  3. ช่วยในการลดความเครียดและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้า เนื่องจาก Vitamin D มีส่วนช่วยในการหลั่งสาร Serotonin จากสมอง
  4. ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน(DM type 2) เนื่องจากวิตามินดี มีส่วนช่วยในการนำน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงานค่ะ

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรละ ว่าร่างกายของเรากำลังขาด Vitamin D อยู่
หากเราไม่ได้ทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับวิตามินดีในร่างกาย เราต้องสังเกตุร่างกายตนเองค่ะว่ามีภาวะปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกแขน ขา หรือมีกระดูกโก่ง เนื่องจากการขาดวิตามินดี จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสลดลง ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกอ่อนได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

แต่หากเราไปทำการตรวจระดับวิตามินดีในเลือดแล้วพบว่าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ อย่าเพิ่งรีบซื้อวิตามินมาทานเองนะคะ อย่างไรก็ดีควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำในการรับประทานวิตามินในระดับที่เหมาะสมกับร่างกายของเราค่ะ เพราะหากเรารับประทานวิตามินดีมากจนเกินไป จะทำให้เกิดการสะสมในร่างกายและเกิดการเป็นพิษตามมาได้ค่ะ

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (Breastfeeding)

ทารกตั้งแต่แรกคลอดจนถึงอายุ 6 เดือน ทานอะไรได้บ้างคะ?
คำถามนี้เชื่อว่า ถ้าไปถามใครหลายคนอาจจะได้คำตอบที่แตกต่างกัน หากไปถามปู่ ย่า ตายาย หรือคนสมัยก่อนอาจต้องมีคำตอบว่า ให้กินกล้วย กันบ้างแน่เลยค่ะ

คนสมัยก่อนมีความเชื่อว่าการให้เด็กกินกล้วยนั้นจะทำให้เด็กจ้ำม่ำ โตเร็ว แต่ในความเป็นจริงนั้นทางเดินทางอาหารของเด็กแรกเกิดจนถึง 6 เดือนยังไม่สามารถย่อยและดูดซึมอาหารอื่นนอกจากนมแม่หรือนมของเด็กในช่วงวัยนั้นๆ ได้ ทำให้เมื่อเด็กทารกได้รับการป้อนอาหารอื่นเข้าไปจะทำให้เกิดปัญหาลำไส้อุดตันได้ ดังนั้นในช่วงแรกเกิด – 6 เดือนแรกหลังคลอด เราสามารถให้ลูกกินเฉพาะนมแม่โดยที่ไม่ต้องกินสิ่งอื่นๆ หรือแม้แต่น้ำได้เลยค่ะ เพราะในนมแม่มีน้ำเป็นองค์ประกอบถึง 85 % และยังมีสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอด้วยค่ะ

ซึ่งเด็กทารกในแต่ละช่วงวัย เริ่มการกินอาหารที่แตกต่างกันดังนี้ค่ะ

🔹 แรกเกิด – 6 เดือน กินแต่นมแม่อย่างเดียว

🔹 6 เดือน กินนมแม่ เสริมอาหารอื่น 1 มื้อ โดยในอาหารมื้อนั้นประกอบด้วย ข้าว 3 ช้อน + ไข่แดง 1/2 ฟอง เนื้อปลา 2 ช้อน หรือตับบด 1 ช้อน + ผักสุก 1/2 ช้อน หรือฟักทอง 1/2 ช้อน + มะละกอสุก 2 ชิ้น หรือส้ม 2 กลีบ

🔹7 เดือน กินนมแม่ เสริมอาหารอื่น 1 มื้อ โดยในอาหารมื้อนั้นประกอบด้วย ข้าว 4 ช้อน + ไข่แดง 1 ฟอง เนื้อปลา 2 ช้อน หรือเนื้อหมู 2 ช้อน + ผักสุก 1.5 ช้อน หรือฟักทอง 1.5 ช้อน + มะละกอสุก 2 ชิ้น หรือมะม่วง 2 ชิ้น

🔹8-9 เดือน กินนมแม่ เสริมอาหารอื่น 2 มื้อ โดยในอาหารมื้อนั้นประกอบด้วย ข้าว 5 ช้อน + ไข่แดง 1 ฟอง เนื้อปลา 2 ช้อน หรือเนื้อหมู 2 ช้อน + ผักสุก 2 ช้อน หรือฟักทอง 2 ช้อน + มะละกอสุก 3 ชิ้น หรือกล้วย 1 ผล

🔹10-12 เดือน กินนมแม่ เสริมอาหารอื่น 3 มื้อ โดยในอาหารมื้อนั้นประกอบด้วย ข้าว 5 ช้อน + ไข่แดง 1 ฟอง เนื้อปลา 2 ช้อน หรือเนื้อหมู 2 ช้อน หรือ ตับบด 1 ช้อน + ผักสุก 2 ช้อน หรือฟักทอง 2 ช้อน + มะม่วง 4 ชิ้น หรือส้ม 1 ผล

จะเห็นแล้วใช่ไหมคะว่าแม้เด็กทารกจะอายุเลย 6 เดือนแล้ว ยังให้กินนมแม่ต่อได้จนถึง 1-2 ปีเลยค่ะ แต่อาหารอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนมแม่นั้น ควรที่จะค่อยๆ ให้ทีละเสต็ป เพื่อให้ระบบทางเดินอาหารและการย่อยอาหารสามารถทำงานได้ดีลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาท้องอืด ท้องเสีย หรือลำไส้อุดตันตามมาค่ะ

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel ?: 063-526-5593
E-mail : unitynursingcare@gmail.com
Website : www.unitynursingcare.com

วิธีเลิกบุหรี่

การสูบบุหรี่นั้น ส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างค่ะ โดยผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ จะได้รับสารพิษจากควันบุหรี่ไปด้วย หรือที่เรียกว่า ควันบุหรี่มือสอง (second hand smoker)

สารพิษที่มีในบุหรี่ มีหลายชนิดด้วยกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็น นิโคติน (Nicotine) คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) ทาร์ (Tar) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide) ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide)

โดยในผู้ที่สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD : Chronic Obstrutive Pulmonary Disease) เนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำให้หลอดลมเกิดการอักเสบและตีบแคบ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยง่ายเนื่องจากประสิทธิภาพการหายใจที่ลดลง นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการทำลายของเนื้อปอด และระบบทางเดินหายใจจะสร้างเมือก (mucous) ออกมาปริมาณมาก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ มีเสมหะมากค่ะ

ในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เป็นหนักอาจต้องมีการเจาะคอ (Tracheostomy) เพื่อเปิดทางเดินหายใจ

เมื่อทราบถึงโทษของบุหรี่แบบนี้แล้ว หากท่านไหนยังสูบอยู่อาจจะค่อยๆ ลดการสูบให้น้อยลง หรือหาวิธีเลิกสูบ เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและคนใกล้ชิดกันค่ะ

วิธีเลิกสูบบุหรี่นั้นมีหลายวิธีด้วยกัน วันนี้เราจะมาแนะนำ 5 วิธีง่าย เพื่อเลิกบุหรี่ ค่ะ

  1. หาแรงบันดาลใจในการเลิกบุหรี่ เช่น การตั้งเป้าหมายที่จะมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง การเลิกบุหรี่เพื่อให้คนใกล้ชิดมีสุขภาพดีขึ้นไม่สูดดมควันบุหรี่เข้าไป หรือการเลิกบุหรี่เพื่อเก็บเงินก็เป็นเรื่องน่าสนใจทีเดียวค่ะ
  2. หากิจกรรมเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากการสูบบุหรี่ เช่น การดูหนัง ฟังเพลง ทำงานอดิเรกที่เราชอบ
  3. ประวิงเวลาในการสูบบุหรี่ออกไป เมื่อรู้สึกอยากสูบบุหรี่ ให้ลองเลื่อนเวลาออกไป เช่น อีกสัก 10 นาที 20 นาที 30 นาที ค่อยสูบ เมื่อทำได้แล้วให้ค่อยขยับเวลาออกไปให้นานขึ้นค่ะ
  4. ทานผลไม้รสเปรี้ยว เนื่องจากรสชาติที่เปรี้ยวของผลไม้จะทำให้รสชาติของบุหรี่เปลี่ยนแปลงค่ะ
  5. ใช้ตัวช่วยในการเลิกบุหรี่ เช่น หมากฝรั่งเลิกบุหรี่ แผ่นแปะเลิกบุหรี่ โดยในหมากฝรั่งและแผ่นแปะจะมีสารนิโคติน ซึ่งเป็นสารที่มีในบุหรี่ที่เราสูบค่ะ โดยเมื่อเราใช้ตัวช่วยเหล่านี้จะทำให้เราลดความอยากสูบบุหรี่จริงๆ ลงไปได้ค่า

เห็นไหมล่ะค่ะว่าหากเราเลิกสูบบุหรี่ได้นั้น นอกจากจะทำให้สุขภาพของทั้งตัวเราเองและคนที่อยู่รอบข้างเราดีขึ้นแล้ว ยังทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้และเก็บเงินได้เพิ่มขึ้นอีกค่า ??

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel ?: 063-526-5593
E-mail : unitynursingcare@gmail.com
Website : www.unitynursingcare.com

ในเลือดมีองค์ประกอบอะไรบ้างน้า?

ทราบกันไหมคะว่าเวลาที่เราไปบริจาคเลือดนั้น เลือดของเรานั้นสามารถนำไปแยกเป็นชนิดของเลือดแบบไหนได้บ้างค่ะ

ก่อนอื่นเราต้องมาดูก่อนว่า ในเลือดของเรามีองค์ประกอบอะไรบ้าง
โดยในเลือดของเรา มีองค์ประกอบ ดังนี้ค่ะ

  1. พลาสมา(Plasma) มีสีเหลืองใสมีสัดส่วน 55-60% ของปริมาตรเลือดทั้งหมด โดยในพลาสมานั้น มีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น อัลบูมิน(Albumin) เกลือแร่(Electrolytes) ฮอร์โมน(Hormone) ก๊าซที่ละลายในน้ำเลือด(Blood gas) และปัจจัยการแข็งตัวของเลือด เป็นต้นค่ะ
  2. เม็ดเลือดแดง(Red Blood Cells) จะมีหน้าที่ขนส่งก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย
  3. เม็ดเลือดขาว(White Blood Cells) มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายของเราเพื่อป้องกันการติดเชื้อในร่างกายค่ะ โดยหากร่างกายเรามีการอักเสบหรือติดเชื้อขึ้นจะทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวในร่างกายสูงขึ้นนั่นเอง
  4. เกล็ดเลือด(Platelets) ช่วยในเรื่องกระบวนการแข็งตัวของเลือด เมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บ มีเลือดออก เกล็ดเลือดจะทำหน้าที่ไปอุดรูรั่วของเหลือเลือดเพื่อให้เลือดหยุดไหลค่ะ

โดยเมื่อเราทำการบริจาคเลือดนั้นสามารถนำไปแยกเป็น พลาสมา เกร็ดเลือด และเม็ดเลือดแดงค่ะ

โดยเลือดทั้ง 3 ชนิด มีความแตกต่างกัน ดังนี้ค่ะ

  1. พลาสมา ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการพลาสมาในการรักษา เช่น ผู้ป่วยที่ขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด โดย โดยพลาสมาจะถูกนำไปทำผลิตภัณฑ์อื่นต่อ ได้แก่ แฟคเตอร์ VIII (Factor VIII) อิมมูโนโกลบูลิน Immunoglobulin อัลบูมิน(Albumin )ค่ะ
  2. เกล็ดเลือด ใช้สำหรับผู้ที่ไขกระดูกสร้างได้น้อย เช่น ไขกระดูกฝ่อ หรือผู้ป่วยที่มีการสูญเสียเกล็ดเลือดมาก
  3. เม็ดเลือดแดง ใช้สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อย เช่น ธาลัสซีเมีย หรือผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดมาก

เห็นไหมละคะว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคหลายๆโรคนั้น จำเป็นต้องมีการได้รับเลือดเพื่อช่วยในการรักษาภาวะที่เป็น หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่เป็นโรคแต่มีการสูญเสียเลือดมาก ไม่ว่าจะเป็นจากการผ่าตัดใหญ่ จากอุบัติเหตุ ก็ยังมีความจำเป็นต้องได้รับเลือดเช่นกันค่ะ

การที่เราบริจาคเลือดนั้น เลือดของเราสามารถนำไปช่วยชีวิตผู้อื่นได้อีกมากมายเลยค่ะ

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel ?: 063-526-5593
E-mail ?: unitynursingcare@gmail.com
Website ? : www.unitynursingcare.com