โรคหลงตัวเอง

อาการแบบนี้ กำลังเป็นโรคหลงตัวเองอยู่หรือเปล่า?

ใครเคยมีคนมาบอกบ้างคะ ว่า ‘เธอน่ะช่างหลงตัวเองซะจริงเลย’
ทราบกันไหมคะว่า การหลงตัวเองจริงๆ แล้วนั้น เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ‘โรคหลงตัวเอง (NPD : Narcissistic Personality Disorder)’ หรือภาวะ Narcississm

ซึ่งคำว่า Nasissism มาจากตำนานเทพนิยาย กรีก ที่เทพที่ชื่อว่า ‘นาร์ซิสซัส (Narcissus)’ ซึ่งเป็นผู้ที่มีรูปโฉมงดงามมาก แต่ปฏิเสธความรักของเอคโค่ ทำให้ถูกอะโฟรไดท์(Aphrodite) สาป ให้หลงรักตนเอง ซึ่งเมื่อเขาก้มหน้าเพื่อไปดื่มน้ำ ทำให้นาร์ซิสซัสตกหลุมรักเงาของตนเองทันที เขาเฝ้ามองดูเงาของตนเองอย่างไม่ละสายตา ไม่กิน ไม่นอน จนเสียชีวิตข้างบ่อน้ำ ตามตำนานเล่าว่าเมื่อนาร์ซิสซัส เสียชีวิตลง ก็เกิดดอกไม้ขึ้น ดอกไม้ชนิดนั้นจึงมีชื่อเรียกว่า ดอกนาร์ซิสซัส (Narcissus) ค่ะ

ลองมาเช็คกันดูค่ะว่า กลุ่มอาการของโรคหลงตัวเอง นั้นมีอะไรบ้าง

  1. รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ มีสิทธิเหนือคนอื่น
  2. ต้องการได้รับการชื่นชมและการดูแลที่พิเศษกว่าบุคคลอื่น
  3. คิดว่าตนเองมีความสำเร็จหรือมีพรสวรรค์ที่เกินจริง
  4. ไม่สามารถรับการวิจารณ์เชิงลบได้
  5. หมกมุ่นกับการโอ้อวดตนเอง
  6. ขาดความเห็นใจต่อผู้อื่น

หากลองเช็คตัวเองกันแล้วว่าเราเข้าข่ายต่อการเป็นโรคหลงตัวเองแล้วนั้น ควรจะไปพบนักจิตวิทยา หรือปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อประเมินเพิ่มเติมและรักษาด้วยวิธีจิตบำบัดต่อไปค่ะ

สนใจบริการ

#บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหาร #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนคาปัสสาวะ

การใส่สายสวนคาปัสสาวะในผู้ป่วย สามารถใส่ได้ในหลายกรณี เช่น ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เมื่อถอดสายสวนปัสสาวะแล้วยังปัสสาวะเองไม่ออก
หรือ ผู้ป่วยที่ปัสสาวะไม่สุด และไม่ต้องการสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (Intermittent Catheterization) เป็นต้นค่ะ

โดยการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ สามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

  1. สังเกตปัสสาวะในสายและในถุงปัสสาวะ ว่าปัสสาวะไหลดี ไม่มีการอุดตันของสายสวนปัสสาวะ
  2. สังเกตปัสสาวะในถุงปัสสาวะ ทั้งในเรื่องปริมาณของปัสสาวะ ลักษณะสีและกลิ่นของปัสสาวะ หากปัสสวะ สีเข้ม มีกลิ่นฉุน อาจแสดงถึงภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  3. ทำความสะอาดอวัยวะเพศและสายสวนปัสสาวะเมื่อชำระทำความสะอาดให้ผู้ป่วย หากมีคราบหรือสิ่งสกปรกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  4. ระวังปัสสาวะไหลย้อนจากสายสวนปัสสาวะกลับเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะขณะเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยหรือขณะทำการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย ต้องทำการ clamp สายก่อน
  5. แปะพลาสเตอร์เพื่อยึดระหว่างสายสวนปัสสาวะกับผิวหนังบริเวณต้นขาผู้ป่วยระวังการดึงรั้งของสายสวนปัสสาวะ
  6. เปลี่ยนพลาสเตอร์ที่แปะขาทุกวันเพื่อป้องกันความสกปรกและป้องกันหากพลาสเตอร์เก่า แถบกาวยึดไม่ดี อาจทำให้เกิดการรั้งของสายสวนปัสสาวะได้
  7. เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด ซึ่งโดยปกติจะเปลี่ยนทุก 4 สัปดาห์ หรือหากมีสายสวนปัสสาวะอุดตัน มีตะกอนมาก ปัสสาวะไม่ไหล ต้องเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะทันทีค่ะ เพราะหากปัสสาวะไม่ไหลออกมาทางสายจะทำให้น้ำปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะฉีกขาดได้(Urinary Bladder rupture)

สนใจบริการ

#บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหาร #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

สายให้อาหารทางจมูก (Nasal Feeding Tube)

ในผู้ป่วยที่ต้องมีใส่สายให้อาหารทางจมูก (Nasal Feeding Tube) เพื่อให้รับอาหารได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายไม่ว่าจะเป็นการใส่สายให้อาหารทางจมูกไปยังกระเพาะอาหาร (NG tube) การใส่สายให้อาหารทางจมูกลงไปยังลำไส้เล็กส่วน Deodemun / Jejunum (ND/ NJ tube) ซึ่งการใส่สายให้อาหารทางจมูกในผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเป็นการใส่สายให้อาหารทางจมูกไปยังกระเพาะอาหาร (NG tube) ค่ะ

โดยสายให้อาหารชนิดซิลิโคน (Silicone NG tube) จะเป็นที่นิยมในผู้ป่วยที่ต้องมีการใส่สายให้อาหารเป็นระยะเวลานาน เนื่องจาก

  1. ตัวสายทำจาก Silicone ทำให้สายอ่อนนุ่มมากกว่าสายให้อาหารชนิดพลาสติก ทำให้เวลาใส่สายให้อาหารเข้าไปผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บน้อยกว่า
  2. ซิลิโคนจะไม่ทำปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อจมูก ทางเดินหายใจ และในกระเพาะอาหาร
  3. ปลายสาย Silicone ที่อยู่ในกระเพาะอาหารจะไม่เกิดการแข็งตัวขึ้นเหมือนสายชนิดพลาสติกทำให้ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
  4. ทำความสะอาดได้ง่าย ลดการสะสมของคราบอาหารหรือคราบยาหลังจากการฟีด เนื่องจากลักษณะของสายที่นิ่มกว่าสายพลาสติกทำให้สามารถ บีบคลึง (Milking and Stripping) สายได้ง่ายกว่า ทำให้คราบอาหารหรือยาที่เกาะติดตามสายหลุดออกได้ง่าย คงสภาพสายให้สะอาดได้นานกว่า

แต่เนื่องจากสายให้อาหารชนิดซิลิโคนมีราคาสูงกว่าสายให้อาหารชนิดพลาสติกค่อนข้างมาก ในผู้ป่วยที่ไม่ได้ใส่สายให้อาหารนานสามารถเลือกใช้สายให้อาหารชนิดพลาสติก(PVC) แทนได้

การใส่สายให้อาหารทางจมูกเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใส่สายให้อาหารในระยะสั้น หากผู้ป่วยจำเป็นต้องมีการใส่สายให้อาหารไปตลอด แพทย์จะพิจารณาเรื่องการใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง (PEG) แทนค่ะ

แต่ไม่ว่าจะเป็นสายให้อาหารชนิดซิลิโคนหรือชนิดพลาสติก ก็ล้วนเป็นทางผ่านของอาหารในผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟีดอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอได้เช่นกันค่ะ ถึงแม้จะเป็นสายให้อาหารชนิดพลาสติกหากดูแลรักษาดีก็คงสภาพสายให้สะอาดได้นานขึ้น

ซึ่งตามปกติแล้วแพทย์จะนัดให้ผู้ป่วยมาทำการเปลี่ยนสายให้อาหารทุก 4-6 สัปดาห์ แต่หากสายให้อาหารมีคราบอาหาร คราบยามาก ทำให้สายดูสกปรกหรือเสี่ยงต่อสายให้อาหารอุดตัน ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนสายให้อาหารก่อนวันนัดได้เช่นกันค่ะ

หากต้องการเปลี่ยนสายอาหารที่บ้าน สามารถเข้ามาดูรายละเอียดได้ก่อนค่ะ บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน

สนใจบริการ

เจาะเลือดที่บ้าน #ทำแผลที่บ้าน #วางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน#เปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน#เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplant)

การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplant)

เคยได้ยินคนพูดกันไหมคะว่า อยากขายไตจังเลย จะเอาไตไปขายได้ที่ไหน? จริงๆ แล้วการขายไตไม่สามารถทำได้นะคะ เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายค่ะ แล้วถ้าการขายไตผิดกฎหมาย แล้วผู้ป่วยที่ได้รับ ‘การปลูกถ่ายไต(Kidney Transplantion)’ นี่เค้าไปเอาไตมาจากไหนกันนะ

ร่างกายของเรามีไต 2 ข้าง โดยไต ทำหน้าที่ในการกรองของเสียจากเลือด โดยจะขับออกมาเป็นน้ำปัสสาวะนั่นเอง

โรคไตวายเรื้อรังจะมีการทำลายเนื้อไตอย่างต่อเนื่อง โดยการทำงานของไตจะลดลงต่ำกว่า 50% ซึ่งภาวะไตวายเรื้อรังเนื้อไต ไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาทำงานได้ตามปกติทำให้เกิดการคั่งค้างของของเสีย ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจึงจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต หรือ การล้างไต นั่นเอง

ก่อนอื่นเราต้องมาดูกันก่อนว่า ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายไต หรือ Recipient ต้องเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ที่ต้องรักษาด้วยการล้างไต

ซึ่งก่อนที่จะบริจาคไตในผู้บริจาคที่มีชีวิต จะต้องมีขั้นตอนของการคัดกรอง เช่น การซักประวัติด้านสุขภาพ การตรวจเลือด ความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ เป็นต้น

โดยผู้ที่จะบริจาคไตได้นั้น แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

  1. ผู้บริจาคไตที่มีชีวิต (Living Donor) โดยผู้บริจาคไตที่มีชีวิต สามารถบริจาคไตได้ 1 ข้าง ซึ่งสามารถบริจาคได้ในกรณี ดังนี้ ผู้บริจาคไตมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับผู้รับบริจาค ผู้บริจาคไตมีความสัมพันธ์เป็นสามีหรือภรรยากับผู้รับบริจาค
  2. ผู้บริจาคไตที่เสียชีวิต (Cadaveric Donor) โดยผู้บริจาคต้องมีการวินิจฉัยภาวะสมองตายจากแพทย์ และมีการแสดงเจตจำนงค์จากญาติหรือผู้เสียชีวิตในการบริจาคอวัยวะ

ซึ่งหลังจากการบริจาคไต สำหรับผู้บริจาคที่เป็นผู้บริจาคที่มีชีวิต (Living Donor KT) นั้นจะเหลือไตเพียงข้างเดียว แต่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับการบริจาคไต ที่จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติเช่นกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และในด้านอื่นๆ แต่ทั้งผู้ที่บริจาคไตและผู้ที่ได้รับการบริจาคไตต้องมีการดูแลตนเองที่ดีและต้องตรวจสุขภาพอยู่อย่างสม่ำเสมอค่ะ

สนใจบริการ

เจาะเลือดที่บ้าน #ทำแผลที่บ้าน #วางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน#เปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน#เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางจมูก (NG tube)

ในผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถทานอาหารทางปากได้หรือยังทานอาหารทางปากได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จำเป็นต้องมีการใส่สายยางให้อาหาร โดยเริ่มต้นจะใส่สายให้อาหารทางจมูก หรือที่เรียกว่า Nasogatric feeding tube (NG tube)

NG tube คือ การใส่สายยางให้อาหารเข้าทางจมูกแล้วส่วนปลายของสายยางให้อาหารอยู่ที่กระเพาะอาหารนั่นเอง

ซึ่งการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางจมูก มีดังนี้ค่ะ

  1. เช็คสายก่อนฟีดอาหารทุกครั้ง
    การฟีดอาหารผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางจมูก ผู้ดูแลต้องมีการเช็คสายว่าปลายสายอยู่ในกระเพราะอาหารหรือไม่โดยใช้หูฟังทางการแพทย์(stetoscope) ฟังที่ลิ้นปี่ (xyphoid process) ก่อนใส่อากาศเข้าไป 10 cc. ด้วย syringe feed อาหารเพื่อฟังเสียงลมค่ะ
  2. เปลี่ยนพลาสเตอร์ติดสายให้อาหารที่จมูกให้ผู้ป่วย
    เมื่อพลาสเตอร์ที่ติดสายให้อาหารที่จมูกมีร่อน แปะยึดไม่อยู่ หรือสกปรก ผู้ดูแลต้องทำการเปลี่ยนเพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของสายยางให้อาหารและป้องกันความสกปรกของคราบกาวที่จะติดกับสายยาง
  3. การบีบและรูดสายให้อาหาร(Milking and stripping)
    ผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางจมูก เมื่อฟีดอาหารทางสายบ่อยครั้ง จะทำให้สายให้อาหารมีคราบอาหารภายในสายได้ ดังนั้นหลังจากผู้ดูแลฟีดอาหารหรือนมให้ผู้ป่วยเสร็จ ในขณะที่ทำการฟีดน้ำตาม ต้องมีการบีบและรูดสายให้อาหาร (milking and stripping) ในกรณีที่สายให้อาหารมีคราบอาหารติดในสายเพื่อให้คราบอาหารหลุด ทำให้ยืดอายุสายให้อาหารให้สะอาดได้นานขึ้นค่ะ
  4. เปลี่ยนสายให้อาหารตามระยะเวลากำหนด
    การใส่สายให้อาหารมีกำหนดระยะเวลาในการใส่สายให้อาหาร โดยปกติ แพทย์จะทำการนัดวันที่ในการเปลี่ยนสายให้อาหารให้ เมื่อถึงครบกำหนดเปลี่ยนสายให้อาหาร ผู้ดูแลต้องพาผู้ป่วยไปเปลี่ยนสายให้อาหารตามกำหนด เพื่อป้องกันสายให้อาหารมีคราบสกปรกสะสมมากและป้องกันสายให้อาหารมีฉีก ขาด จากการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน และเมื่อเปลี่ยนสายให้อาหารควรใส่สายให้อาหารคนละข้างกับรูจมูกเดิมเพื่อลดการกดทับของเนื้อเยื่อของผู้ป่วย
  5. ระวังสายให้อาหารดึงรั้ง
    เมื่อผู้ป่วยใส่สายให้อาหารผู้ดูแลต้องจัดท่าให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบาย และระวังสายให้อาหารดึงรั้ง เช่น การรั้งจากร่างกายผู้ป่วยทับสายให้อาหารขณะพลิกตะแคงตัว หรือผู้ป่วยนอนทับสายให้อาหาร
  6. ระวังผู้ป่วยดึงสายให้อาหาร
    ผู้ป่วยหลายคน ไม่เคยใส่สายให้อาหารทางจมูกมาก่อน จะมีความรู้สึกไม่สุขสบาย ระคายคอ เหมือนมีอะไรอยู่ในคอตลอด ทำให้อาจเผลอไปจับหรือดึงสายให้อาหารทำให้เกิดการเลื่อนหลุดของสายให้อาหารได้

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #เจาะเลือดที่บ้าน #ทำแผลที่บ้าน #วางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน#เปลี่ยนสายให้อาหาร#เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com