สายให้อาหารหลุด ทำยังไงดี ?

ผู้ป่วยหลายคน เมื่อออกจาก รพ. ถ้ายังทานอาหารได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาจจะมีสายให้อาหารทางจมูก(NG tube) กลับมาที่บ้านด้วย ซึ่งเมื่อผู้ป่วยมีสายยางให้อาหารทางจมูก ญาติหรือผู้ดูแลจะต้องช่วยกันดูแลสายให้อาหาร ไม่ว่าจะเป็น

⁃ การดูแลความสะอาดภายในสายให้อาหาร

⁃ การดูแลพลาสเตอร์ที่แปะผิวหนังบริเวณจมูกให้ยึดติดกับผิวหนังบริเวณจมูกได้ดี ไม่หลุดง่าย

⁃ การเช็คตำแหน่งของสายให้อาหารไม่ให้มีการเลื่อนจากตำแหน่ง

แล้วถ้าสายมีหลุดออกมา ไม่ว่าจะจากสาเหตุที่
⁃ ผู้ป่วยมีดึงสายออกเอง
⁃ ผู้ป่วยมีไอ จาม อาเจียนจนสายหลุดออกมา

ญาติหรือผู้ดูแลต้องทำการประเมินว่าผู้รับบริการสามารถทานอาหารทางปากได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือไม่ หากผู้ป่วยยังไม่สามารถทานอาหาร หรือน้ำทางปากได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยต้องได้รับการใส่สายให้อาหารกลับเข้าไปใหม่สำหรับการให้อาหารและน้ำ

หากสายให้อาหารหลุดแล้วญาติหรือผู้ดูแลปล่อยทิ้งไว้ ไม่ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการใส่สายให้อาหารใหม่ และตัวผู้ป่วยเองที่ยังทานอาหารได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหาร(Malnutrition) หรือหากการกลืนยังไม่ดีแล้วทานอาหารทางปากอาจเสี่ยงการสำลักอาหาร(Aspirate) ได้ค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #เปลี่ยนสายให้อาหารสาย #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสาสวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

แผลเป็น (Scar)

กินไข่เดี๋ยวแผลเป็นไม่สวย… จริงหรือ?

เวลาเป็นแผลขึ้นมาทีนอกจากจะเจ็บตัวตอนเกิดแผลแล้วนั้น ตอนแผลหายก็เกิดความกังวลอีกว่า ถ้าแผลหายจะเป็นแผลเป็นหรือเปล่า
หลายคนอาจจะเคยได้ยิน คำสอนที่ว่า เป็นแผลอย่ากินไข่นะ เดี๋ยวแผลเป็นนูน ไม่สวย นี่เป็นเรื่องจริงหรือเปล่านะ 🤔

ในความจริงแล้ว เมื่อเราเป็นแผล ไม่ได้มีข้อห้ามในการกินไข่เลยค่ะ นอกจากจะไม่ห้ามแล้วนั้น การกินไข่ยังส่งผลดีกับแผลเพราะจะทำให้แผลหายเร็วขึ้น เนื่องจากไข่เป็นโปรตีน และตัวโปรตีนนี้เองที่จะช่วยทำหน้าที่ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย จึงช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้นค่ะ

สำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูง สามารถหลีกเลี่ยงการรับประทานไข่แดงได้ เพราะไข่แดงมีคอเรสเตอรอลสูงค่ะ สามารถแกะทานแต่ไข่ขาว หรือประกอบอาหารจากไข่ขาวได้ค่ะ

เมื่อแผลเราหาย บริเวณที่เคยเป็นแผลจะเกิดเป็นลักษณะของแผลเป็น ซึ่งมีได้ หลายลักษณะ เช่น

⁃ แผลเป็นชนิดขาว เกิดจากการที่เนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นใหม่ ผิวหนังบริเวณนั้นมีลักษณะขาว ซีด กว่าผิวหนังรอบๆ เนื่องจากว่าขาดเม็ดสีผิว เมลานิน(Melanin) นั่นเองค่ะ ซึ่งรอยแผลเป็นประเภทนี้ สามารถรักษาให้หายได้โดยการฉายรังสี UV เพื่อให้ผิวหนังในบริเวณที่เป็นแผลเป็น มีสีผิวคล้ำขึ้นมาเทียบเท่ากับผิวหนังบริเวณด้านข้างค่ะ นอกจากนี้หากไม่ไปทำการรักษา แผลเป็นสีขาวยังสามารถปกปิดด้วยเครื่องสำอางค์ได้ด้วยค่ะ

⁃ แผลเป็นลักษณะนูน เกิดจากในช่วงกระบวนการหายของแผลมีการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและคอลลาเจนมากจนเกินไปทำให้เวลาแผลหายมีลักษณะของเนื้อที่นูนขึ้น การรักษาแผลเป็นชนิดนี้สามารถทำได้โดยการฉีด steroid เพื่อลดการอักเสบเนื้อเยื่อบริเวณนั้น เมื่อฉีดไปหลายรอบจะทำให้รอยแผลเป็นนูนลดลงค่ะ

เราจะเห็นได้ว่าหากเกิดรอยแผลเป็นขึ้นมาแล้วการรักษาแผลเป็นหลังเกิดนั้นสามารถทำได้ แต่หากยิ่งปล่อยไว้นานแผลเป็นก็จะยิ่งแข็งและหายยากขึ้น ดังนั้นหากเราเป็นแผลในระยะที่แผลใกล้หาย ตกสะเก็ด เราสามารถทายาลดรอยแผลเป็นกันไว้ก่อนได้เลยค่ะ เพื่อช่วยลดการดึงรั้งของเนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นมาใหม่ ทำให้รอยแผลเป็นอ่อนนุ่มและดูจางลง หรืออาจใช้แผ่นซิลิโคนลดรอยแผลเป็นปิดที่แผลเป็นเพื่อช่วยให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีความชุ่มชื่นเพิ่มขึ้นค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #เปลี่ยนสายให้อาหารสาย #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสาสวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ฝี (Abscess)

ฝีเกิดจากการที่ต่อมน้ำมันหรือต่อมเหงื่อของเรามีสิ่งสกปรกหรือเซลล์ผิวหนังที่ตายเข้าไปอุดตันทำให้เกิดการอักเสบ(Inflammation) ขึ้น

ซึ่งเมื่อมีเชื้อโรคเข้ามาในร่างกายเรา เม็ดเลือดขาว(white blood cell) ในร่างกายเราจะออกมาเพื่อกำจัดเชื้อโรค เมื่อเม็ดเลือดขาวในร่างกายเราย่อยสลายเชื้อโรคจะเกิดเป็นลักษณะของหนองได้

การอักเสบของผิวหนัง จะเห็นเป็นลักษณะผิวหนังบวม แดง ใต้ผิวหนังอาจมีหัวหนองสีเหลือง ซึ่งเจ้าตัวหัวหนองเหลืองนี้หากไม่ได้ได้รับการกรีดออกหรือเจาะออกแล้วนั้นจะทำให้การอักเสบไม่หายแล้วนอกจากนี้ หากปล่อยไว้จะทำให้ตัวหนองมีปริมาณมากขึ้น การอักเสบบวมแดง ขยายขนาดมากขึ้นค่ะ

เราจะป้องกันการเกิดฝีได้อย่างไร

  1. ดูแลความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ เช่น อาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย ล้างมื้อเมื่อสัมผัสสิ่งสกปรก
  2. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว
  3. รักษาความสะอาดของของใช้ประจำวัน เช่น ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน

ดังนั้นหากใครเริ่มเป็นฝีในระยะแรก แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ตั้งแต่ตอนเริ่มเป็นน้อยๆ ค่ะ เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการเจาะหรือกรีดตัวหนองออกจากผิวหนัง และอาจมีการประเมินการเรื่องการให้ยาฆ่าเชื้อร่วมด้วย นอกจากนี้ต้องมีการทำความสะอาดแผลทุกวันเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่แผลค่ะ ในผู้ป่วยที่มีการกรีดหนองนั้น ผิวหนังมักจะเป็นรูหรือเป็นโพรงกว้าง ตามขนาดของตัวหนองที่อยู่ด้านในผิวหนัง การทำแผลจึงต้องมีการใส่วัสดุเข้าไปในโพรงแผลด้วยค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #เปลี่ยนสายให้อาหารสาย #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสาสวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

มด แมลงเข้าหู ทำยังไงดี?

ถ้าใครเคยมีประสบการณ์ มด แมลงเข้าหู จะรู้เลยว่าพอเจ้ามด แมลงเข้าไปในหู จะได้ยินเสียงกรอบแกรบๆ หูอื้อ หรือถ้ามด แมลงนั้นเดินเข้าไปลึก ก็จะมีอาการเจ็บภายในรูหู ตามมาได้ค่ะ

หลายคนพอรู้สึกว่ามีอะไรอยู่ในรูหูก็จะนำไม้ปั่นหูเข้าไปแคะ เพื่อให้สิ่งแปลกปลอมนั้นออกมา แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น การใช้ไม้ปั่นหู นอกจากจะไม่ทำให้มด แมลงนั้นออกมาจากหูแล้ว จะยิ่งทำให้มันเดินเข้าไปในหูลึกขึ้น และอาจทำให้หูของเราเกิดแผลจากการแหย่หรือการแคะที่แรงได้ด้วยค่ะ

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อมีมด หรือแมลงเข้าหู สามารถทำได้ ดังนี้ค่ะ

  1. ใช้น้ำมัน เช่น baby oil น้ำมันมะกอก หยดเข้าไปในรูหู
  2. สักพักค่อยเอียงรูหูด้านนั้นลง เพื่อให้น้ำมันไหลออกมา ตามแรงโน้มถ่วง
    วิธีการนี้จะทำให้มด แมลงที่เข้าไปในหูเราจมน้ำมัน เดินเข้าไปในรูหูต่อไม่ไหว หลังจากนั้นตัวของมันก็จะไหลออกมาตามน้ำมันออกมานอกรูหูค่ะ

ในกรณีที่ผู้ที่ถูกมด แมลงเข้าหูมีการใส่ท่อระบายน้ำในหู หรือมีแก้วหูทะลุ ห้ามหยอดน้ำมันเข้าไปในหูนะคะ เพราะอาจทำให้เกิดการทำลายหูชั้นใน หรือเกิดหูน้ำหนวกได้ค่ะ

หากใครที่ใช้วิธีการหยอดน้ำมันแล้วไม่ได้ผล ยังเจ็บแปล๊บๆ ในรูหู มีเสียงดังกรอบแกรบๆ ในรูหูอยู่ แนะนำว่าต้องไปพบแพทย์ที่ รพ. เพื่อให้แพทย์ส่องหูและนำเจ้ามด แมลง สิ่งแปลกปลอมนี้ออกมาจากรูหูของเราค่ะ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ จะทำให้เกิดการอักเสบและอาจทำให้เกิดจากติดเชื้อตามมาได้ค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน
เปลี่ยนสายให้อาหารสาย #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสาสวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

พิษสุนัขบ้า (Rabies)

เวลาโดนหมากัด แมวกัด แมวข่วน หลายคนนอกจากจะเจ็บตัวแล้ว สิ่งที่กลัวมากกว่าคือการรักษาที่ตามมา ถ้าใครเคยโดนกัดแล้วคงจะทราบดีค่ะว่า พอไป รพ. ที ทำแผล ฉีดวัคซีน หรือบางคนโดนฉีดยารอบแผลด้วย(เจ็บยิ่งกว่าตอนถูกกัดอีกใช่ไหมคะ 😅)

วันนี้ Unity พามาดูกันค่ะว่า เวลาที่เราโดนสุนัข/แมว กัด ข่วน เราต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

  1. วัคซีนพิษสุนัขบ้า (Rabies Vaccine)
    วัคซีนพิษสุนัขบ้า เป็นวัคซีนหลักที่ทำให้ใครหลายคนตัดสินใจมาฉีดวัคซีนหลังโดนสุนัขกัด แมวข่วน เพราะกลัวเป็นโรคพิษสุนัขบ้านั่นเองค่ะ

โดยการฉีดวัคซีน จะมีทั้งการฉีดทางกล้ามเนื้อ(Intramuscular) และการฉีดใต้ผิวหนัง(Intradermal)

  1. การฉีดทางกล้ามเนื้อ(IM)โดยฉีดทั้งหมด 5 เข็ม โดยฉีดครั้งละ 1 เข็ม ในวันที่ 0,3,7,14 และ 28
  2. การฉีดใต้ผิวหนัง(ID) จะฉีดครั้งละ 2 จุด ในวันที่ 0,3,7 และ 28
    ซึ่งภายในระยะเวลา 6 เดือนหากถูกสัตว์กัดซ้ำต้องฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าทางชั้นกล้ามเนื้อ(IM) 1 เข็มหรือทางชั้นใต้ผิวหนัง(ID) 1 จุด ในวันที่ 0

แต่หากเลย 6 เดือนแล้วต้องฉีดวัคซีน ดังนี้ค่ะ

  1. ฉีดทางกล้ามเนื้อ (IM) ครั้งละ 1 เข็ม วันที่ 0 กับ 3
  2. ฉีดใต้ผิวหนัง (ID)
  • ฉีด 4 จุด ในวันที่ 0
  • ฉีดครั้งละ 1 จุด ในวันที่ 0 กับ 3
  1. วัคซีนบาดทะยัก (Tetanus Toxoid)
    วัคซีนบาดทะยัก ฉีดเพื่อป้องกันเชื้อบาดทะยัก ซึ่งเชื้อบาดทะยักเป็นสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย Clostridium Tetani ซึ่งจะอยู่ตามดิน ฝุ่น มูลสัตว์ เมื่อสปอร์เหล่านี้เข้าไปที่แผล จะเป็นสารพิษต่อเส้นประสาทนั้นค่ะ

การฉีดวัคซีนบาดทะยัก เป็นวัคซีนขั้นพื้นฐานที่เด็กจะได้รับ โดยต้องฉีด 3 เข็ม หลังจากเข็มที่ 3 แล้วให้ฉีดเข็มกระตุ้นทุก 10 ปี หากนานเกิน 10 ปีไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้นก็ต้องเริ่มการฉีดวัคซีนใหม่ค่ะ

  1. การฉีดวัคซีนรอบแผล RIG
    วัคซีนที่ฉีดรอบแผลมีทั้งชนิด HRIG (Human Derived RIG) และ ERIG (Equine Derived RIG)
    RIG(Rabies Immunoglobulin) มีข้อบ่งชี้ในการให้ ดังนี้
  2. บาดแผลมีเลือดออกชัดเจน
  3. บาดแผลอยู่บริเวณศีรษะ คอ มือ
  4. ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือภูมิคุ้มกันต่ำ
  5. ถูกกัดในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า
  6. ผู้ป่วยถูกค้างคาวกัด หรือสัมผัสโรคจากค้างคาว
    กรณีที่ถูกสัตว์กัดซ้ำหลังได้รับวัคซีนพิษสุนัขบ้าครบแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้ RIG ค่ะ

สนใจบริการ

#บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหาร #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com