การบริจาคอวัยวะ

ถ้าบริจาคอวัยวะ เกิดมาชาติหน้าจะพิการหรือเปล่านะ?

สิ่งหนึ่งที่ทำให้จำนวนผู้บริจาคอวัยวะของประเทศเรา มีจำนวนที่น้อย เพราะยังมีความเชื่อที่ว่า หากบริจาคอวัยวะแล้วเมื่อเสียชีวิต ถูกผ่าเอาอวัยวะออกไป เกิดมาชาติหน้าจะทำให้พิการ อวัยวะไม่ครบ
แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่เกี่ยวเลยค่ะ นอกจากนี้การบริจาคอวัยวะยังเป็น ‘ทานบารมี’ ที่ยิ่งใหญ่ในทางพุทธศาสนา ด้วยค่ะ

เมื่อเราเสียชีวิตลงจากภาวะสมองตาย (Brain Death) แล้วอวัยวะภายในของเรายังสามารถที่จะใช้งานได้ แล้วเราทำเรื่องในการบริจาคอวัยวะไว้ ร่างกายของเราจะถูกนำไปผ่าตัดเอาอวัยวะที่สามารถไปใช้สำหรับผู้ป่วยคนอื่นๆ ออกค่ะ

ซึ่งอวัยวะที่สามารถทำการผ่าตัดออกมาจากร่างกายของผู้เสียชีวิตมีจำนวนทั้งหมด 7 ชิ้น ได้แก่ ไต 2 ข้าง, ปอด 2 ข้าง, หัวใจ, ตับ, ตับอ่อน นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ ผิวหนัง ลิ้นหัวใจ กระดูกและเส้นเอ็น กระจกตา

โดยอวัยวะที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นจะถูกผ่ามาจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตาย(Brain Death)

หรือในกรณีผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต (Living Donor) ซึ่งการบริจาคในผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้บริจาคต้องมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติทางสายเลือด หรือเป็นสามีภรรยากับผู้รับเท่านั้น

และนอกจากนี้การเก็บอวัยวะและระยะเวลาในการนำอวัยวะชิ้นนั้นๆ ส่งเพื่อดำเนินการผ่าตัด นั้นมีความสำคัญมาก เพราะหากอวัยวะนั้นถูกผ่าออกมาแล้วทิ้งไว้นานเกินจะทำให้เกิดเซลล์ตาย ทำให้ไม่สามารถนำไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยอีกคนได้ค่ะ ซึ่งระยะเวลาของการปลูกถ่ายของอวัยวะต่างๆ มี ดังนี้ค่ะ

  • หัวใจ ขาดเลือดได้ไม่เกิน 4 ชั่วโมง
  • ปอด ขาดเลือดได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง
  • ตับ ขาดเลือดได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง
  • ไต ขาดเลือดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

จะเห็นแล้วใช่ไหมคะว่า การบริจาคอวัยวะเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ ที่จะสามารถช่วยต่อชีวิตให้ผู้ป่วยคนอื่นๆ ได้หลายคน หลังจากที่เราเสียชีวิตไปแล้ว หากใครที่ยังไม่ได้บริจาคอวัยวะแล้วสนใจที่จะบริจาค สามารถไปติดต่อได้ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด หรือศูนย์บริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย , เหล่ากาชาดจังหวัด ทุกแห่งค่า

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน เปลี่ยนสายให้อาหารสาย #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

เม็ดเลือดขาวแต่ละ ชนิด ต่างกันอย่างไร

เวลาร่างกายของเรามีการติดเชื้อเกิดขึ้น หากเจาะเลือดดูเม็ดเลือดขาว(White Blood Cells) มักจะพบว่าเม็ดเลือดขาว มีจำนวนสูงกว่าปกติ (ระดับเม็ดเลือดขาวปกติในกระแสเลือดของเราอยู่ที่ 4,500-10,000 cell/ml.)

นั่นเป็นเพราะว่า เมื่อร่างกายของเรามีการอักเสบติดเชื้อขึ้น เม็ดเลือดขาวจะถูกสร้างขึ้นเพื่อมาต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายเรานั่นเองค่ะ

กรณีที่เม็ดเลือดขาวอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ แปลว่าภูมิคุ้มกันของร่างกายของเราต่ำ ทำให้ร่างกายของเราเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ต้องระวังเรื่องการรักษาความสะอาด รับประทานอาหารที่สุกสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อค่ะ

ซึ่งเม็ดเลือดขาวแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ได้แก่

  1. Lymphocytes เม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะสร้าง แอนติบอดี(Antibody) เพื่อมาต่อสู้กับแบคทีเรีย ไวรัส
  2. Monocytes เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีอายุขัยยาวนานมากกว่าเม็ดเลือดขาวตัวอื่นๆ ช่วยในการทำลายแบคทีเรีย
  3. Neutrophils เป็นเม็ดเลือดขาวที่เป็นทำการฆ่าแบคทีเรีย หรือเชื้อรา เป็นชนิดของเม็ดเลือดขาวที่มีมากสุดในกระแสเลือดและยังเป็นด่านหน้าในการต่อสู้กับเชื้อโรค
  4. Eosinophils เม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะทำหน้าที่จู่โจมและฆ่าปรสิตและเซลล์มะเร็ง และช่วยเกี่ยวกับการตอบสนองต่อภูมิแพ้
  5. Basophils เม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะเป็นตัวบ่งบอกเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในกระแสเลือด โดยมันจะทำหน้าที่สร้างสารเคมี เช่น ฮิสตามีน (Histamine) เพื่อบ่งบอกถึงภาวะภูมิแพ้ เป็นต้น

จะเห็นแล้วว่าเมื่อร่างกายของเรามีการติดเชื้อหรือการอักเสบเกิดขึ้น นอกจาก WBC ที่สูงขึ้นแล้วนั้น หากเรามาดูชนิดของเม็ดเลือดขาวทั้ง 5 แบบ ก็อาจจะมีชนิดใดชนิดหนึ่งสูงขึ้นได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าร่างกายของเรามีการติดเชื้อหรือการอักเสบขึ้นจากสาเหตุใดนั่นเองค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #เปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ดูแลดวงตาของเรายังไงดีนะ

ตื่นเช้ามาสิ่งที่คนเราทำเป็นอย่างแรก คือ การลืมตาใช่ไหมคะ 😅

จะเห็นว่าตาเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักมาก หลายคนไม่ได้ดูแลรักษาดวงตาของตนเองให้ดี ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาตามมา ไม่ว่าจะเป็น

  • สายตาสั้น (Myopia)
  • สายตายาว (Hyperopia)
  • สายตาเอียง (Astigmatism)

ซึ่งความผิดปกติทางสายตาต่างๆ เหล่านั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมของเรานั่นเองค่ะ เช่น

  • การที่เราชอบอ่านหนังสือ/เล่นมือถือในที่มืด มีแสงสว่างไม่เพียงพอ
  • นอนตะแคงอ่านหนังสือ/เล่นโทรศัพท์
  • ดูทีวี/จอมือถือใกล้ เกินไป

พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านสายตาตามมาค่ะ หรือผู้ที่ทำงานที่ต้องมีการจ้องจอ อยู่ตลอดเวลา จะทำให้สายตาเกิดการอ่อนล้า ได้ค่ะ

วันนี้เราจึงมาชวนดูแลดวงตาของเรากันค่ะ

  1. เปิดแสงสว่างให้เพียงพอ ในกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา เช่น ทำงาน/อ่านหนังสือ
  2. เว้นระยะห่างของตัวเรากับหน้าจอให้เหมาะสม (50-70 cm.)
  3. พักสายตาเมื่อต้องทำงานที่จ้องหน้าจอนานเกินไป ควรพักทุก 1 ชั่วโมง โดยมองไปในที่ระยะไกลๆ ประมาณ 10-20 วินาที
  4. ใช้แว่นตาตัดแสงสีฟ้าเพื่อช่วยให้เกิดความสบายตาในผู้ที่ต้องทำงานหน้าจอนาน
  5. รับประทานอาหารบำรุงสายตา อาหารที่มีวิตามิน A C E สูง เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม แครอท อะโวคาโด เป็นต้น

นอกจากการดูแลดวงตาให้ดีอย่างสม่ำเสมอแล้ว หากเริ่มรู้สึกว่ามองเห็นไม่ชัดแนะนำให้ไปพบจักษุแพทย์เพื่อประเมินภาวะการมองเห็นของสายตา หากพบว่ามีสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง แล้วต้องมีการสวมใส่แว่นเพื่อปรับการมองเห็นให้ชัดค่ะ เพราะ หากเรามองเห็นไม่ชัดแล้วพยายามที่จะหรี่ตามองเพื่อให้เห็นชัดขึ้น จะทำให้สายตาของเราแย่ลงได้ค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสาสวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ(Paraphilias)

คนเราสามารถมีรสนิยมทางเพศที่หลากหลาย แตกต่างกันได้ ไม่ได้แปลว่าต้องมีภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ หรือ ‘กามวิปริต’ ค่ะ

ก่อนอื่นเรามาดูกันค่ะว่า ภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ(Paraphilias) คืออะไร

ภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ คือ ภาวะที่เรามีพฤติกรรมทางเพศ หรือ สิ่งเร้าที่กระตุ้นต่อความต้องการทางเพศแตกต่างจากคนทั่วไป เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 6 เดือน

ภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ แบ่งเป็น 9 ประเภท ได้แก่

  1. Exhibitionism : ผู้ที่มีภาวะนี้จะรู้สึกตื่นเต้นและเกิดอารมณ์ทางเพศเมื่อได้โชว์ของลับ ต่อบุคคลอื่น หรือโชว์ในที่สาธารณะ
  2. Erectile dysfunction : ผู้ป่วยจะเกิดอารมณ์ทางเพศเมื่อได้ถูอวัยวะเพศของตนเองเพื่อสำเร็จความใคร่กับเสื้อผ้าภายนอกของบุคคลอื่น
  3. Voyeurism : ผู้ป่วยจะเกิดอารมณ์ทางเพศ เมื่อได้แอบดูบุคคลอื่นเปลือยกาย หรือมีเพศสัมพันธ์
  4. Fetishism : ผู้ป่วยจะใช้วัตถุที่ไม่ได้ใช้สำหรับการร่วมเพศมาใช้ให้เกิดอารมณ์ทางเพศ
  5. Transvestic Fetishism : ผู้ป่วยจะรู้สึกเกิดอารมณ์ทางเพศเมื่อได้แต่งกายเป็นเพศตรงข้าม
  6. Pedophilia : ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ทางเพศกับเด็ก(อายุน้อยกว่า 13 ปี)
  7. Sexual Masochism : ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ทางเพศเมื่อตนเองได้รับความเจ็บปวด
  8. Sexual Sadism : ผู้ป่วยจะเกิดอารมณ์ทางเพศ เมื่อตนเองได้ทำให้ผู้อื่นเกิดความเจ็บปวด
  9. Homosexualism : ผู้ป่วยจะรู้สึกมีอารมณ์ทางเพศกับเพศเดียวกัน

จะเห็นว่าภาวะเบี่ยงเบนทางเพศนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งหากเรารู้ตัวเองว่าเรามีภาวะเบี่ยงเบนทางเพศในลักษณะที่อาจทำให้ผู้อื่นเกิดความเดือนร้อน เราสามารถไปพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาและบำบัดภาวะที่เราเป็นได้
หรือหากบางคนที่รู้ตนเองว่าตนเองมีภาวะเบี่ยงเบนทางเพศในแบบไหน จะได้หาคนที่เข้ากันได้ค่ะ เช่น ผู้ที่มีภาวะ Sexual Sadism กับ Sexual Masochism เป็นต้นค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสาสวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ซีดไม่ซีดเค้าดูกันยังไง

ใครเคยโดนทักว่า ดูซีดๆ บ้างคะ แล้วคำว่าซีดนี่ วัดจากอะไรน้า สีผิวหรอ? เป็นคนผิวขาว แล้วต้องซีด เกี่ยวรึป่าว?

วันนี้เราจะมาดูนิยามของคำว่า ภาวะซีด หรือที่เรียกกันว่า Anemia กันค่ะ

ภาวะซีด คือ ภาวะที่ร่างกายของเรา มีระดับ ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) หรือ ฮีมาโตคริต (Hematocrit) ต่ำกว่าระดับปกติ ในผู้ที่มีภาวะซีด หรือ โลหิตจาง มักจะมีอาการเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ผิวหนังซีด เนื่องจากปริมาณของเม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ในร่างการมีปริมาณน้อย ทำให้ร่างกายของเราได้รับออกซิเจนอย่างไม่เพียงพอทำให้เกิดอาการต่างๆ เหล่านั้นนั่นเองค่ะ

ซึ่งภาวะซีดนั้นสามารถพบได้จากการที่เจาะเลือด ตรวจ CBC (Complete Blood Count) หรือ Hematocrit โดยตรงนั่นเอง

ผู้ป่วยที่มีภาวะซีด สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  1. ภาวะซีดแต่กำเนิด หรือเป็นโรคทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย(Thalassemia)
  2. ภาวะซีดจากการรับประทานอาหาร ที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ
  3. ภาวะซีดจากการเสียเลือดมาก

ซึ่งเมื่อตรวจเลือดแล้วพบว่าร่างกายของเรามีภาวะซีด จึงจำเป็นต้องหาสาเหตุเพื่อจะได้รับการรักษาได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากหากสาเหตุต่างกันจะ มีการรักษาที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง เช่น

  • ภาวะซีดที่เกิดจากกรรมพันธุ์ เช่น โรคธาลัสซีเมีย จะต้องดูแลสุขภาพ รับประทานผัก ไข่ นม หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนัก เป็นต้น
  • ภาวะซีดจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ต้องแก้ไขด้วยการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเพิ่มขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียว
  • ภาวะซีดที่เกิดจากการเสียเลือด ต้องทำการห้ามเลือดในจุดนั้นๆ เพื่อให้เลือดหยุดไหล ไม่เสียเลือดเพิ่มเติม

และในผู้ป่วยที่มีภาวะซีดอยู่ในระดับวิกฤตอาจจำเป็นต้องมีการให้เลือดแดง (Pack Red Cell) เพื่อเพิ่มระดับความเข้มข้นของตัว Hemoglobin และ Hematocrit ในเลือดค่ะ และนอกจากนี้แพทย์อาจมีการพิจารณาเรื่องการรับประทานยาบำรุงเลือดเพิ่มได้ค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน เปลี่ยนสายให้อาหารสาย #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสาสวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com