6 วิธีดูแลตนเองเพื่อให้ห่างไกลจาก COVID-19

สถานการณ์การระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส (Coronavirus) หรือโรคโควิด-19(Covid-19) ระลอกที่ 3 ในปัจจุบัน มีการระบาดอย่างรุนแรงกว่าครั้งก่อนๆ มาก ปัจจุบัน มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นถึงวันละ 2,000 กว่าคน และมียอดผู้เสียชีวิตจำนวนมากขึ้นด้วยค่ะ โดยกลุ่มผู้เสียชีวิตมีทั้งในกลุ่มที่อายุยังน้อยไปจนถึงกลุ่มที่เป็นผู้สูงอายุ

วันนี้ Unity Nursing Care จึงชวนทุกคนมาทบทวนวิธีดูแลตนเองเพื่อให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโคโรน่า กันด้วย 6 วิธี ดังนี้ค่ะ

  1. หมั่นตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายอยู่เสมอ โดยอุณหภูมิร่างกายปกติจะอยู่ที่ 36.5-37.4 องศาเซลเซียส ค่ะ หากพบว่าตนเองมีไข้ ไม่สบาย และมีประวัติในการไปในพื้นที่เสี่ยง หรือสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ ต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการประเมินหรือตรวจคัดกรองความเสี่ยงในการติดเชื้อกันด้วยค่ะ
  2. ทำความสะอาดบ้านพัก/ที่อยู่อาศัย บ้านหรือที่อยู่อาศัยเป็นที่ๆ เราอาศัยพักผ่อนจากการกลับมาจากด้านนอก ซึ่งหากตัวเรา หรือสิ่งของมีการปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้ามาจะทำให้ที่อยู่อาศัยเรามีการปนเปื้อนเชื้อไปด้วยค่ะ ดังนั้นนอกจากการที่กลับถึงบ้านจะอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าให้เรียบร้อยก่อนทำอย่างอื่นแล้ว เราควรที่จะทำความสะอาดบ้าน/จุดที่มีการจับหรือสัมผัสบ่อยด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น บริเวณลูกบิดประตู เป็นต้น
  3. หลีกเลี่ยงการใช้เงินสด เนื่องจากเงินสด ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ หรือธนบัตร ล้วนต้องมีการจับหรือสัมผัสจากบุคคลอื่นมาก่อนแล้ว หากเราเลี่ยงการจับเงินสดโดยการจ่ายเงินในการซื้อของหรือรับบริการด้วยการชำระเงินในช่องทางอื่นๆ เช่น การโอนเงิน บัตรเครดิต/เดบิต จะลดความเสี่ยงในการต้องสัมผัสกับเชื้อโรคลงได้ค่ะ
  4. การเว้นระยะห่าง สามารถทำได้หลายวิธีค่ะ เช่น การนั่ง-ยืน ควรห่างกันอย่างน้อย 1.5-2 เมตร การงดทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดการรวมตัว ซึ่งหลายหน่วยงานในปัจจุบันก็ได้มีนโยบาย work form home ขึ้น หรือแม้กระทั่งสถานศึกษาที่มีการปรับการเรียน การสอนทาง online ค่ะ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ช่วยให้เกิดการเว้นระยะห่างทางสังคม ช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ดีเลยค่ะ
  5. การสวมหน้ากาก สามารถใช้ได้ทั้งหน้ากากผ้าและหน้ากากอนามัยค่ะ การสวมหน้ากากเป็นการลดหยดละอองฝอยจากน้ำลายหรือสิ่งคัดหลั่งต่างๆ ที่มายังหน้าของเรา ซึ่งจะสามารถเข้าไปสู่ทางเดินหายใจและทำให้เราติดเชื้อได้ ซึ่งหากท่านใช้หน้ากากผ้าจะต้องซักทำความสะอาดทุกวัน ส่วนหน้ากากอนามัยควรจะใช้แล้วทิ้งใน 1 วันหรือเปลี่ยนเมื่อสกปรกค่ะ
  6. ล้างมือบ่อยๆ การล้างมือสามารถล้างได้แบบการใช้ย้ำและสบู่ หรือหากอยู่ในสถานที่ที่ไม่สามารถล้างมือด้วยน้ำและสบู่ได้ แนะนำว่าทุกท่านควรที่จะล้างมือด้วยแอลกอฮอร์เจล หรือแอลกอฮอร์สเปรย์ ก็ได้เช่นกันค่ะ แต่หากอยู่ในที่ๆ สามารถล้างมือด้วยน้ำและสบู่ได้ควรจะล้างมือด้วยน้ำและสบู่เพราะนอกจากจะช่วยชำระล้างเชื้อโรคที่อยู่บนมือเราแล้ว ยังช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกต่างๆ ที่อยู่บนมือให้ออกไปได้อีกด้วยค่ะ

ทุกท่านคงเห็นแล้วใช่ไหมคะว่า 6 วิธีการดังกล่าวข้างต้น เป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย เราทุกคนสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ในชีวิตประจำวันของเราในทุกๆ วัน ซึ่งหากเราปฏิบัติเช่นนี้อยู่เสมอ จะลดความเสี่ยงทั้งการรับเชื้อจากผู้อื่นและการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นให้ลดลงได้แน่นอนค่ะ ????

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel ????: 063-526-5593
E-mail ????: unitynursingcare@gmail.com
Website ???? : www.unitynursingcare.com

Sinovac vs Astrazeneca ต่างกันยังไงน้า ?

ตอนนี้ประเทศไทยกำลังเริ่มมีการนำวัคซีนสำหรับป้องกันโรค COVID-19 เข้ามา เพื่อให้ประชาชนได้เริ่มทำการฉีด โดยวัคซีน 2 ยี่ห้อ ที่รัฐบาล นำเข้า ได้แก่ Sinovac และ Astrazeneca ค่ะ

หลายคนอาจยังมีความสงสัยว่า แล้วเจ้าตัว Sinovac และ Astrazeneca นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

วันนี้ Unity Nursing Care จะมาเล่าถึงความเหมือนและความต่างของเจ้าวัคซีนทั้ง 2 ตัวนี้กันค่ะ

Sinovac

  • ปลอดภัยสูงกว่า ผลข้างเคียงน้อยกว่า เนื่องจากวัคซีนที่นำมาฉีดเป็นเชื้อตาย
  • ป้องกันโรคแบบมีอาการรุนแรง-เสียชีวิต ได้ที่ 50.4%
  • ฉีดได้ในกลุ่มอายุ 18-59 ปี(เนื่องจาก ยังไม่มีผลการวิจัยรับรองเรื่องการฉีดในผู้สูงอายุ)

AstraZeneca

  • มีผลข้างเคียงมากกว่า เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • มีประสิทธิภาพการป้องกันโรคแบบมีอาการได้ 70.4%
  • ฉีดได้ในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และสามารถฉีดในผู้สูงอายุที่มีอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (เนื่องจากมีข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาในผู้สูงอายุ)

แต่ทั้ง Sinovac และ AstraZeneca มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อทุกรูปแบบได้ 54.1% และป้องกันการติดเชื้อแบบรุนแรงได้ที่ 100% เลยค่ะ

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel ????: 063-526-5593
E-mail ????: unitynursingcare@gmail.com
Website ???? : www.unitynursingcare.com

วันผู้สูงอายุ

องค์การสหประชาชาติ(United Nation) ได้ให้ความหมายของ ผู้สูงอายุ ว่า “เป็นบุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป”

ซึ่งองค์การอนามัยโลก(World Health Organization)ได้ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยให้ประเทศต่างๆ ช่วยกัน โดยในยุครัฐบาลของ พลเอกเปรมติณสูลานนท์ ได้มีมติให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุ

โดย “ดอกลำดวน” ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ เนื่องจากลำดวนเป็นพืชยืนต้นที่ให้ความร่มเย็น อายุยืน ดอกสีนวล มีกลิ่นหอมและไม่ร่วงง่าย เหมือนกับผู้สูงอายุที่คุณธรรมดีงาม เป็นแบบอย่างให้กับลูกหลาน

นอกจากวันที่ 13 เมษายน จะเป็นวันผู้สูงอายุแล้ว ยังเป็นวัน “มหาสงกรานต์” อีกด้วย โดยปกติในทุกๆ ปี จะเป็นวันที่ลูก หลาน ไปรดน้ำดำหัว ขอพรจากญาติผู้ใหญ่ค่ะ

ในปีนี้มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จึงอยากให้ทุกท่านตระหนักและไม่การ์ดตกกันนะคะ หากใครไปรดน้ำดำหัว ขอพรจากญาติผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ ต้องอย่าลืมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงหมั่นล้างมือ เพื่อป้องกันทั้งตนเองและบุคคลรอบข้างค่ะ ????

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel ????: 063-526-5593
E-mail ????: unitynursingcare@gmail.com
Website ???? : www.unitynursingcare.com

บาดเจ็บแบบนี้เลือกประคบอะไรดีน้า?

การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเป็นสิ่งที่หลายคนเคยเจอ ไม่ว่าจะจากการเล่นกีฬา หรือการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ ไม่ตั้งใจ ซึ่งการบาดเจ็บเหล่านั้นส่งผลให้เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดฝอยทำให้เลือดออกใต้ผิวหนัง และเกิดการบวมตามมาค่ะ

วันนี้ Unity Nursing Care จึงพาเพื่อนๆ มาดูวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามหลัก RICE (ไรซ์) เมื่อมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเกิดขึ้นกันค่ะ ซึ่งมีดังนี้ค่ะ

R (Rest) ดูแลให้อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บหยุดอยู่นิ่ง

I (Ice) ดูแลประคบเย็นในอวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บ ซึ่งสามารถประคบเย็นได้ทันทีภายหลังการบาดเจ็บให้ดูแลประคบเย็นถึง 48 ชั่วโมง โดยความเย็นจะช่วยให้หลอดเลือดเกิดการหดรัดตัวช่วยให้เลือดหยุดไหลได้

C (Compression) การพันบริเวณหรืออวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บเพื่อไม่ให้อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บบวมมากขึ้น

E (Elevation) การยกบริเวณหรืออวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บให้ขึ้นสูงกว่าระดับหัวใจเพื่อลดเรื่องการบวม

โดยหลังจาก 48 ชั่วโมงแล้วท่านสามารถเปลี่ยนจากการประคบเย็บมาเป็นการประคบร้อนได้ เพราะในระยะนี้ ความร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว บรรเทาเรื่องอาการปวดลงได้ค่ะ
แต่ต้องระวังว่า การประคบร้อน จะไม่ทำหลังจากเกิดการบาดเจ็บทันที เพราะความร้อนจะทำให้หลอดเลือดขยายตัวมากขึ้นและทำให้เลือดออกได้มากขึ้นค่ะ

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel ????: 063-526-5593
E-mail ????: unitynursingcare@gmail.com
Website ???? : www.unitynursingcare.com

ชัก (Seizure)

การชัก (seizure) เกิดจากการที่คลื่นไฟฟ้าในสมองทำงานผิดปกติ ซึ่งมีได้จากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ที่เคยผ่าตัดสมอง มีก้อนเนื้องอกในสมอง หรือภาวะไข้สูงในเด็ก สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดการชักขึ้นได้ค่ะ

สิ่งที่กระตุ้นในเกิดการชักในผู้ป่วย มีหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความร้อน ความเครียด แสงจ้า หรือการรับประทานยาบางอย่าง เช่น ยากระตุ้นประสาท หรือ ยากดประสาท ค่ะ
ซึ่งก่อนที่ผู้ป่วยจะชัก จะมีอาการนำที่เรียกว่า (Aura sign) เช่น ได้กลิ่นแปลกๆ มองเห็นแสง มีจุดมืดในตา รู้สึกมึนงง เป็นต้น

สิ่งที่ห้ามทำเมื่อเจอคนชัก

  1. ห้ามนำช้อน หรือสิ่งของเข้าไปสอดในช่องปาก
  • หลายท่านพอฟังแบบนี้แล้วคงรู้สึกขัดกับสิ่งที่เคยได้ยินมาใช่ไหมคะ บางคนอาจเถียงในใจว่า เอ๋ ‘แล้วถ้าเขากัดลิ้นขึ้นมาละ?’
  • แต่ความจริงแล้วคนชักจะไม่กัดลิ้นค่ะ เนื่องจากลิ้นเป็นกล้ามเนื้อ และเมื่อเกิดการชักขึ้นจะทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายเกิดการหด เกร็ง ลิ้นก็จะหดกลับเข้าไปในปากค่ะ (คงไม่มีใครเคยเห็นคนชักไปแลบลิ้นไปใช่ไหมคะ ????) แต่หากเราพยายามง้างปากของผู้ที่กำลังชัก เพื่อสอดสิ่งของเข้าไป จะทำให้ผู้ที่กำลังชักอยู่เกิดการบาดเจ็บในช่องปากได้ค่ะ
  1. ห้ามจับ/ดึง แขนขา ของผู้ที่กำลังชัก
  • หลายคนมีความเชื่อว่า เห็นคนกำลังชักอยู่ ต้องไปช่วยจับ ตรึงแขนขา ร่างกายผู้ป่วยไว้ เพื่อให้ผู้ป่วยหยุดชัก นั่นก็เป็นความเชื่อที่ผิดเช่นกันค่ะ
  • การจับ ตรึง แขนขา ร่างกายของผู้ที่กำลังชัก จะทำให้เกิดการบาดเจ็บแก่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เนื่องจากเวลาที่เกิดการชัก กล้ามเนื้อจะเกิดการหด เกร็งใช่ไหมคะ แต่การที่เราไปดึงแขน ดึงขาหรือจับเค้าไว้จะทำให้เกิดการต้านกันและเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ กระดูก หรือข้อต่อ ตามมาได้ค่ะ

การปฐมพยาบาลเมื่อเจอคนชัก ปฏิบัติ ดังนี้ค่ะ

  1. ประเมินสถานการณ์ว่ามีสิ่งที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ที่กำลังชักหรือไม่ เช่น หากมีโต๊ะ เก้าอี้ สิ่งของที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ ให้นำออกห่างจากตัวผู้ที่กำลังชัก เพื่อให้ขณะที่เกิดการชักผู้ป่วยจะไม่ได้รับบาดเจ็บจากวัตถุเหล่านั้น
  2. โทรแจ้ง 1669
  3. ช่วยจับเวลาในการชัก แล้วแจ้งแก่ผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยแจ้งแพทย์และจะได้ปรับยาหรือแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง
  4. หลังจากผู้ป่วยหยุดชักแล้ว หากผู้ป่วยหมดสติและยังหายใจ ให้ดูแลจัดท่านอนที่ปลอดภัย(Recovery Position) ให้ผู้ป่วยเพื่อให้ไม่เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกค่ะ
  5. ดูแลเช็ดน้ำลายหรือสิ่งคัดหลั่งที่ที่ออกมาทางปากให้ผู้ป่วย (อย่าลืมสวมใส่สิ่งป้องกันตนเอง ไม่สัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยโดยตรงนะคะ)

เมื่อทราบแบบนี้แล้ว Unity Nursing Care เชื่อว่าหากท่านพบผู้ที่กำลังชัก ท่านจะสามารถให้การปฐมพยาบาลได้อย่างถูกวิธีค่ะ

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel ????: 063-526-5593
E-mail ????: unitynursingcare@gmail.com
Website ???? : www.unitynursingcare.com