พาร์กินสัน(Parkinson’s Disease)

พาร์กินสัน(Parkinson’s Disease) คืออะไร และมีอาการอย่างไรนะ?

โรคพาร์กินสัน เกิดจากการลดลงของโดปามีน(Dopamine) จากการเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ทำให้เกิดการอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ

ซึ่งโรคพาร์กินสันจะส่งผลต่อผู้ป่วยหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม การดูแลตนเองบกพร่อง และสามารถนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ค่ะ

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีอาการอย่างไร

  1. การเคลื่อนไหวช้า เคลื่อนไหวผิดปกติ
  2. การเริ่มต้นไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
  3. พูดโทนเสียงเดียว ไม่มีเสียงสูงเสียงต่ำ
  4. ลายมือ เขียนตัวหนังสือเล็กลง
  5. มือและนิ้วสั่นขณะพัก
  6. การสั่นจะเพิ่มขึ้นเมื่อผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยล้า และจะลดลงเมื่อทำกิจกรรมหรือเมื่อนอนหลับ
  7. ผู้ป่วยจะมีอาการแข็งเกร็งหรือเคลื่อนไหวแบบเขย่า
  8. ผู้ป่วยจะมีสีหน้าเรียบเฉย
  9. น้ำลายไหล
  10. กลืนลำบาก พูดลำบาก
  11. สูญเสียการประสานงานและทรงตัว
  12. เดินลากขา เดินโค้งโก่งห่อตัว ศีรษะโน้มไปด้านหน้า

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #เปลี่ยนสายให้อาหารสายที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนคาปัสสาวะที่บ้าน #บริการสอนการดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)

ไส้ติ่งมีลักษณะเป็นท่อปลายตัน ซึ่งต่อมาจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้น อยู่บริเวณด้านขวาล่างของท้อง ซึ่งการอักเสบของไส้ติ่งเกิดจากการที่มีสิ่งแปลกปลอม ของเสียลงไปในไส้ติ่งแล้วเกิดการสะสมของแบคทีเรียทำให้เกิดการอักเสบขึ้น

เวลาที่ไส้ติ่งเกิดการอักเสบขึ้นจะทำให้เรามีอาการ ดังนี้

  • รู้สึกปวดบริเวณรอบสะดือ ปวดลามไปที่ด้านขวาล่างของท้องได้
  • อาการปวดจะเป็นรุนแรงขึ้นเมื่อกดไปที่หน้าท้องบริเวณด้านขวาล่าง
  • มีอาการกดเจ็บ ท้องแข็ง
  • มีไข้ต่ำๆ
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องผูก หรือท้องเสีย
  • ผู้ป่วยมักนอนตะแคง ท้องเกร็ง งอขา

เมื่อไส้ติ่งเกิดการอักเสบ หรือเกิดการติดเชื้อ จะทำให้ไส้ติ่งแตกได้ หากไส้ติ่งแตกแล้วปล่อยทิ้งไว้จะนำไปสู่การติดเชื้อในช่องท้อง(Peritonitis) และการติดเชื้อเข้ากระแสเลือด(Sepsis) ได้

อาการเมื่อไส้ติ่งแตกและมีการติดเชื้อในช่องท้อง มีดังนี้

  • ท้องเกร็งแข็ง
  • ปวดแน่นท้อง ท้องอืด
  • คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ
  • เสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้หายไป ไม่ผายลม
  • มีการกดเจ็บที่หน้าท้อง
  • มีไข้
  • ซีด
  • ท้องบวมโตมากขึ้น ปวดท้องมากขึ้น
  • พักผ่อนไม่ได้ มีการรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง
  • หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว
  • ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเบาเร็ว

หากไส้ติ่งแตกจะนำมาสู่การติดเชื้อหรือการเสียเลือดจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยมีภาวะไส้ติ่งอักเสบ ต้องไป รพ. โดยเร็วเพื่อให้แพทย์รักษาโดยการตัดไส้ติ่งที่อักเสบออกค่ะ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด สามารถทำได้ ดังนี้

  1. เซ็นใบยินยอมเข้ารับการผ่าตัด (Inform consent)
  2. งดน้ำงดอาหาร(NPO) แพทย์จะมีให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ(IV fluid) เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  3. สังเกตระดับของความปวด เฝ้าระวังอาการของภาวะไส้ติ่งแตก และการติดเชื้อในช่องท้องที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนการผ่าตัด
  4. นอนท่าตะแคงขวา หรือนอนศีรษะสูงเล็กน้อย( 30 องศา) เพื่อส่งเสริมความสุขสบาย
  5. ประเมินการเคลื่อนไหวของลำไส้
  6. แพทย์อาจมีการได้รับยาฆ่าเชื้อตามแผนการรักษา
  7. หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบายหรือยาสวนทวาร
  8. แพทย์อาจมีการให้ประคบเย็นบริเวณหน้าท้อง 20-30 นาที ทุกชั่วโมงตามแผนการรักษา
    ⚠️ไส้ติ่งอักเสบ : ห้ามประคบร้อนบริเวณหน้าท้อง เพราะความร้อนจะทำให้ไส้ติ่งแตกได้ค่ะ ⚠️

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #เปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนคาปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel : 063-526-5593
E-mail  : unitynursingcare@gmail.com
Website  : www.unitynursingcare.com

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self-Examination)

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self-Examination)

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านม เนื่องจากมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในเพศหญิง หากทำการตรวจเต้านมตนเองอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เมื่อมีความผิดปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงกับเต้านมเกิดขึ้นก็จะทำให้เราตรวจพบ และเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็วค่ะ ปกติการตรวจเต้านมด้วยตนเองจะทำในวันที่ 7-10 หลังมีประจำเดือน เนื่องจากเต้านมจะนิ่มตรวจง่าย

ขั้นตอนการตรวจเต้านมด้วยตนเองมี ดังนี้

  1. ตรวจขณะอาบน้ำให้ผิวหนังมีความลื่นด้วยน้ำและสบู่
  • ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง คลำทุกส่วนของเต้านม
  • ใช้มือขวาตรวจเต้านมด้านซ้าย โดยใช้นิ้วมือตรวจเต้านมลักษณะเป็นวงกลม หรือขึ้นและลงโดยคลำให้ทั่วเต้านม
  • ใช้มือซ้ายตรวจเต้านมขวา โดยใช้นิ้วมือตรวจเต้านมลักษณะเป็นวงกลม หรือขึ้นและลงโดยคลำให้ทั่วเต้านม
  • คลำซ้ำรูปแบบเดียวกันไปถึงแขนบริเวณใต้รักแร้ เพื่อดูว่ามีก้อนหรือไม่
  1. ยืนหน้ากระจกโดยยืนตรงแขนอยู่ข้างลำตัว เพื่อสังเกตลักษณะรูปร่าง ขนาด ผิว ของเต้านมและหัวนมยกแขนขึ้นเหนือศีรษะตรวจดูความผิดปกติของเต้านม เช่น เต้านมมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ผิวหนังเต้านมมีรอยบุ๋ม หรือมีการเปลี่ยนแปลงที่หัวนม
  2. ยืนตรงยกแขนขึ้นวางหลังศีรษะ ตรวจดูความผิดปกติของเต้านม เช่น เต้านมมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ผิวหนังเต้านมมีรอยบุ๋ม หรือมีการเปลี่ยนแปลงที่หัวนม
  3. วางมือที่สะโพกแล้วออกแรงกดลง เพื่อดูกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก ดูความไม่สมมาตรหรือการเปลี่ยนแปลง
  4. นอนลงแล้วตรวจหน้าอกโดยการคลำลักษณะเช่นเดียวกันกับตอนอาบน้ำ โดยขณะตรวจเต้านมขวาให้วางผ้าเช็ดตัวพับไว้ใต้หัวไหล่ข้างขวา หลังจากนั้นสอดมือขวารองได้ศีรษะทำซ้ำด้านซ้ายลักษณะเดียวกันกับการตรวจเต้านมด้านขวา
  5. จดปฏิทินวันที่ตรวจเต้านมไว้ (ควรตรวจอย่างน้อยทุก 1 เดือน) หากมีอาการผิดปกติ มีการเปลี่ยนแปลงของเต้านมต้องปรึกษาแพทย์ต่อค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #เปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนคาปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel : 063-526-5593
E-mail  : unitynursingcare@gmail.com
Website  : www.unitynursingcare.com

ตับอักเสบ (Hepatitis)

ตอนเป็นเด็กใครเคยได้ยินคำว่า ‘กินอาหารต้องใช้ช้อนกลาง ไม่อย่างนั้นจะเสี่ยงติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบ้างคะ’ ว่าแต่ ไวรัสตับอักเสบนี่เป็นยังไง และมีกี่ชนิดกันนะ

โดยไวรัสตับอักเสบจะมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A virus) ไวรัสตับอักเสบ บี(Hepatitis B virus) ไวรัสตับอักเสบ ซี(Hepatitis C virus) ไวรัสตับอักเสบ ดี(Hepatitis D virus) และไวรัสตับอักเสบ อี(Hepatitis E virus) ค่ะ
ซึ่งไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิดจะติดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน โดย

  • ไวรัสตับอักเสบ A ติดจาก การรับประทานอาหารอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้าไป เช่น การรับประทานอาหารโดยไม่ใช้ช้อนกลาง การดื่มน้ำขวดเดียวกันกับผู้ที่มีเชื้อไวรัส หรือผู้ที่มีเชื้อไวรัสทำอาหาร เป็นต้น
  • ไวรัสตับอักเสบ B ติดจาก การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย การใช้ของมีคมร่วมกัน การสัก/เจาะร่างกาย โดยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อตามมาตรฐาน หรือจากมารดาสู่ทารก เป็นต้น
  • ไวรัสตับอักเสบ C การติดเชื้อจะเหมือนไวรัสตับอักเสบ B ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย การใช้ของมีคมร่วมกัน การสัก/เจาะร่างกาย โดยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อตามมาตรฐาน หรือจากมารดาสู่ทารก เป็นต้น
  • ไวรัสตับอักเสบ D การติดเชื้อจะเกิดร่วมกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย การใช้ของมีคมร่วมกัน การสัก/เจาะร่างกาย โดยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อตามมาตรฐาน เป็นต้น
  • ไวรัสตับอักเสบ E ติดจากการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก

อาการของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จะมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ตาเหลือง และในผู้ที่มีอาการตับอักเสบรุนแรงสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบ ซี ยังนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งตับในอนาคตได้ค่ะ

โดยการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และไวรัสตับอักเสบ C สามารถป้องกันได้ ดังนี้ค่ะ

  1. ฉีดวัคซีน ปัจจุบันไวรัสตับอักเสบ B มีวัคซีนที่สามารถป้องกันได้ โดยการฉีดวัคซีนจำนวน 3 เข็ม แต่ยังไม่มีวัคซีนสำหรับไวรัสตับอีกเสบ C ค่ะ
  2. ไม่ดื่มน้ำจากขวดเดียวกันกับผู้อื่น ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันการสัมผัสน้ำลายของผู้อื่น
  3. ไม่ใช้ของมีคมร่วมกันผู้อื่น เช่น กรรไกรตัดเล็บ ใบมีดโกน เพื่อป้องกันการติดเชื้อหากมีการบาดผิวหนังแล้วมีเลือดออก
  4. ป้องกันการสัมผัสเลือดและสิ่งคัดหลั่งจากผู้อื่น สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือ เสื้อคลุม แว่นตา เป็นต้น หากต้องทำหัตถการที่มีความเสี่ยงต่อการกระเด็นของเลือดหรือสิ่งคัดหลั่ง

เห็นแล้วใช่ไหมคะว่าไวรัสตับอักเสบเป็นโรคที่เสี่ยงต่อการติดได้ง่ายและสามารถนำไปสู่ภาวะสุขภาพและการเสียชีวิตได้ แต่หากเรารู้จักการป้องกันตนเองได้อย่างถูกวิธีแล้ว ก็จะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบลงได้ค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #เปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนคาปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia)

เกิดจากการลดลงของธาตุเหล็ก ซึ่งส่งผลต่อการสร้างฮีโมโลบิน (Hemoglobin) ของเม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell) ซึ่งการลดลงของธาตุเหล็กในร่างกายนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การเสียเลือด การดูดซึมในทางเดินอาหารลดลง หรือการได้รับธาตุเหล็กจากอาหารน้อย เป็นต้นค่ะ

ผู้ที่มีอาการซีดจากการขาดธาตุเหล็ก จะมีอาการ
⁃ ซีด เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
⁃ เจาะเลือด ตรวจ CBC จะพบว่า Hemoglobin Hematocrit MVC ต่ำกว่าระดับปกติ เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กและติดสีจาง (Microcytic and Hypochromic)

โดยหากผู้ป่วยมีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก สามารถรักษาได้ ดังนี้

  1. เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อแดง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล ไข่แดง ผักใบเขียว เป็นต้น
  2. รับประทานธาตุเหล็กเสริม(Iron Supplement) ตามแพทย์สั่ง
  3. ในผู้ที่มีอาการซีดรุนแรง แพทย์อาจประเมิน การได้รับยาฉีดร่วมด้วยค่ะ

หากแพทย์ให้คำแนะนำว่าต้องทานธาตุเหล็กเสริม การรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก(Iron supplement) ควรทำดังนี้
⁃ ✅ รับประทานระหว่างมื้ออาหาร เพื่อประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าร่างกาย
⁃ ✅ ทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก กับวิตามินรวม (Multivitamin) หรือน้ำผลไม้ที่มีวิตามิน ซี สูง เช่น น้ำฝรั่ง น้ำมะเชือเทศ เพื่อช่วยเรื่องการดูดซึมธาตุเหล็ก
⁃ ❌ ไม่รับประทาน อาหารเสริมธาตุเหล็กร่วมกับนม หรือยาลดกรด เพราะจะลดการดูดซึมธาตุเหล็ก
⁃ แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับผลจากการรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก ได้แก่ อุจจาระสีดำ (Black stool) ภาวะท้องผูก (Constipation)
⁃ อาหารเสริมธาตุเหล็กในรูปแบบน้ำ จะทำให้เกิดคราบที่ฟัน(stain the teeth) ได้ หากผู้ป่วยทานอาหารเสริมธาตุเหล็กในรูปแบบน้ำ ต้องใช้หลอดดูดเพื่อลดการเกิดคราบที่ฟัน และควรแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #เปลี่ยนสายให้อาหารสาย #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสาสวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com